ประวัติสำนัก
16 ก.ค. 2558
- 75 ครั้ง
40 ปี สำนักโรคติดต่อทั่วไป
การควบคุมโรคนับเป็นภารกิจแรกที่วงการสาธารณสุขได้ให้ความสำคัญ ก่อนการจัดตั้งกรมสาธารณสุข จวบจนเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2485 ได้สถาปนากระทรวงสาธารณสุขขึ้น ซึ่งยังคงมีงานการควบคุมโรคในสังกัดในกองควบคุมโรค อยู่ในกรมสาธารณสุข ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนเป็นกรมอนามัย ในช่วงเวลาเดียวกันกับที่เปลี่ยนชื่อกระทรวงสาธารณสุขเป็นกระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2495 และได้เปลี่ยนชื่อจากกองควบคุมโรคติดต่อ ต้องเผชิญกับการระบาดของโรคติดต่อทั้งประเภทอันตรายและโรคติดต่อสำคัญบางโรคที่สามารถควบคุมโรคได้ และบางโรคหมดไปจากประเทศไทย ซึ่งเป็นความภาคภูมิใจกับชาวกองควบคุมโรคติดต่อเป็นอย่างยิ่ง อาทิเช่น โรคไข้ทรพิษ ซึ่งเป็นโรคติดต่ออันตรายที่เคยระบาดในประเทศไทยเป็นเวลายาวนาน และมีการระบาดเคียงคู่กันมากับอหิวาตกโรค มีการจัดทำโครงการกำจัดดรคไข้ทรพิษ โดยการสนับสนุนขององค์กรอนามัยโรค เริ่มมนช่วงปี พ.ศ.2504-2508 โดยใช้มาตรการปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษให้แก่ประชาชนทั่วประเทศและประสบผลสำเร็จเมื่อเดือนมกราคม 2505 ไม่พบผู้ป่วยไข้ทรพิษเกิดขึ้นในประเทศเลย และยุติการปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ เมื่อปี 2523 สำหรับโรคกาฬโรคเป็นโรคติดต่อร้ายแรงที่สามารถควบคุมการระบาดของโรค โดยมีการตั้งหน่วยงานควบคุมกาฬโรคขึ้น 3 หน่วยงานในจังหวัดราชบุรี,นครราชสีมา, นครสวรรค์, ใช้มาตรการสำคัญคือปรับปรุงอาคารที่อยู่อาศัยให้สะอาด พ่นดีดีที ตามบ้านเรือน และดักหนูหรือวางยาเบื่อหนูเพื่อกำจัดหนูที่เป็นแหล่งโรคที่สำคัญบางครั้งต้องเผาอาคารบ้านเรือนทำด้วยไม้ไผ่และรกรุงรังเพื่อกำจัดหนู ตั้งแต่ปี 2496 เป็นต้นมา ไม่พบโรคกาฬโรค
นอกจากนั้นยังควบคุมความรุนแรงของโรคอหิวาตกโรคระบาดที่ร้ายแรงให้อยู่ในระดับที่ไม่เป็นปัญหาสาธารณสุขได้ โดยเฉพาะที่อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งต้องใช้เวลาถึง 3 เดือนในการควบคุมโรคได้จนสงบ และในพื้นที่ตำบลดอนมโนราห์ จังหวัดสมุทรสงคราม
ต่อมาได้เปลี่ยนแปลงด้านบริหารจัดการ เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2517 ได้สถาปนากรมควบคุมโรคติดต่อขึ้นแยกจากกรมอนามัย โดยมีนายแพทย์ชม เทพยสุวรรณ
เป็นอธิบดีคนแรก ซึ่งเป็ฯช่วงเวลาเดียวกันับการที่ระบบบริหารราชการกระทรวงได้มีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ งานควบคุมป้องกันโรคติดต่อต่างๆ ได้ถูกกระจายอยู่ในหน่วยงานระดับกองต่างๆ ส่วนงานควบคุมโรคติดต่อซึ่งยังไม่มีหน่วยงานรองรับชัดเจน จึงถูกนำรวมเข้ามาอยู่ภายใต้การรับผิดชอบของกองโรคติดต่อทั่วไป ได้แก่ งานควบคุมป้องกันโรคอุจจาระร่วง งานควบคุมโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน งานควบคุมโรคไข้เลือดออก งานสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน งานโรคหนอนพยาธิ งานด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ เป็นต้น กองโรคติดต่อทั่วไป จึงถือกำเนิดขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2517 เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2517 โดยมีแพทย์หญิงภัทรพร ชำนาญกิจ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองเป็นคนแรกและต่อมาได้มีผู้อำนวยการกองที่ทำหน้าที่บริหารงานก่อนมีการปฏิรูปโครงสร้างกระทรวงสาธารณสุข ครั้งที่ 4 ในปี พ.ศ.2545 จำนวน 6 คน ได้แก่
- แพทย์หญิงภัทรพร ชำนาญกิจ
- นายแพทย์คติ จิรยุส
- นายแพทย์วิชิต มธุรสภาษณ์
- นายแพทย์สมพร พฤษราช
- นายแพทย์อุเทน จารณสี
- นายแพทย์ศุภมิตร ชุณห์สุทธิวัฒน์
จากนั้นต่อมาเมื่อมีการปฏิรูปกระทรวงสาธารณสุข ในปี พ.ศ.2545 กรมควบคุมโรคติดต่อจึงได้รับการปฏิรูปเป็นกรมควบคุมโรค เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2545 และได้เปลี่ยนแปลงกองโรคติดต่อทั่วไปเป็นสำนักโรคติดต่อทั่วไป ตามพระราชกฤษฎีกาที่ 19 ตอนที่ 103 ก. ซึ่งมีผู้อำนวยการสำนักโรคติดต่อทั่วไป จนถึงปัจจุบัน จำนวน 3 ท่านดังนี้
- นายแพทย์ศิริศักดิ์ วรินทราวาท
- นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์
- นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ
พัฒนาการการควบคุมป้องกันโรคติดต่อทั่วไป
พ.ศ.2518 – 2524 เป็นช่วงที่ แพทย์หญิงภัทรพร ชำนาญกิจ

ซึ่งเป็นผู้อำนวยการกองท่านแรก นับเป็นช่วงที่มีการสร้างงานใหม่และสานงานเก่า นับเป็นยุคบุกเบิกของการวางแนวทางการควบคุมป้องกันโรคติดต่อทั่วไป ลักษณะของการทำงานในสมัยนั้นเป็นลักษณะของ Vertical Program ซึ่งมีรูปแบบการบริหารงานที่ส่วนกลางเป็นผู้รับผิดชอบการบริหารจัดการ รวมทั้งสนับสนุนปฏิบัติการแก่หน่วยงานส่วนภูมิภาค คือ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ โยมีหน่วยงานประสานงานและปฏิบัติการในส่วนภูมิภาค คือ ศูนย์โรคติดต่อทั่วไปภาค ซึ่งมีทั้งหมด 4 ศูนย์ภาค คือ ศูนย์โรคติดต่อทั่วไปภาคเหนือ อยู่ที่จังหวัดนครสวรรค์ ศูนย์โรคติดต่อทั่วไปภาคกลางอยู่ที่จังหวัดราชบุรี ศูนย์โรคติดต่อทั่วไปภาคตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ที่ จังหวัดนครราชสีมา และศูนย์โรคติดต่อทั่วไปภาคใต้ อยู่ที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ระยะนั้นดำเนินการควบคุมป้องกันโรค ใน 4 รูปแบบ คือ
1. รูปแบบของการสาธิตเชิงปฏิบัติการให้กับเทศบาล และสุขาภิบาล และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ซึ่งรูปแบบนี้มี 2 งาน คือ งานควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า และงานควบคุมโรคไข้เลือดออก ซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อสนับสนุนให้ท้องถิ่น และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสามารถควบคุมป้องกันโรคในพื้นที่ได้ด้วยตนเอง เริ่มตั้งแต่การสาธิตปฏิบัติการในท้องถิ่น และให้ท้องถิ่นจัดหาบุคลากรและอุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินงาน อาทิ เช่น ในการควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า ท้องถิ่นจัดซื้อวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ โดยส่วนกลาง จัดหาอุปกรณ์ปืนยิงสลบสัตว์ สำหรับการควบคุมโรคไข้เลือดออก ท้องถิ่นจัดซื้อเครื่องพ่นน้ำยา ส่วนกองโรคติดต่อทั่วไปจัดหาน้ำยาฆ่ายุงสนับสนุนและดูแลอุปกรณ์ปฏิบัติ
2. รูปแบบของการค้นหาบำบัดรักษา ได้แก่ การค้นหาผู้ป่วยโรคหนอนพยาธิในประชาชน และให้การบำบัดรักษาโดยการแจกจ่ายยาที่ใช้ในการถ่ายพยาธิ ทั้งในกลุ่มประชาชนและนักเรียน
3. รูปแบบในการควบคุมป้องกันโรคเชิงรุก ได้แก่ อหิวาตกโรคหรือโรคอุจจาระร่วงอย่างแรง โดยจัดหน่วยงานปฏิบัติการในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค และมีการใช้ ORS เพื่อทดแทนการเสียน้ำและเกลือแร่ในโรงพยาบาลต่างๆ โดยจัดทำมุมการรักษา ที่เรียกว่า ORT Corner และการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค โดยมี EPI program เกิดขึ้น ดำเนินการมาจนถึงปัจจุบัน
4. รูปแบบงานชำนาญเฉพาะด้าน ซึ่งปฏิบัติโดยบุคลากรเฉพาะ คือ การเฝ้าระวังโรคติดต่อระหว่างประเทศ โยมีด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ เช่น ด่านที่สนามบินดอนเมือง ด่านสะเดา ด่านจังโหลน และด่านท่าเรือ
ตัวอย่างผลงานขณะนั้น ได้แก่
- จัดทีมสาธิตเชิงปฏิบัติการของโรคพิษสุนัขบ้า และไข้เลือดออกให้กับเทศบาลจำนวน 118 แห่งสุขาภิบาล แห่ง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด จำนวน 70 จังหวัด
- สนับสนุนเวชภัณฑ์ ได้แก่ วัคซีนป้องกันโรคพิษสุขบ้าในคน ชนิดผลิตจากสมองสัตว์ ได้แก่ Semple Vaccine และ SMBV สนับสนุน ORS สนับสนุนสารกำจัดแลงใช้กับเครื่องพ่นเวชภัณฑ์การบำบัดหนอนพยาธิ ได้แก่ Combantin Mebendazole Albendazole และวัคซีน EPI ให้กับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เพื่อทำวัคซีนพื้นฐานให้เด็ก
- จัดทีมควบคุมโรค เมื่อเกิดการะบาดของโรคโดยเฉพาะโรคอหิวาตกโรค
- เป็นศูนย์กลางจัดหาอุปกรณ์การกำจัดสุนัขและเครื่องพ่นสารเคมีของโรคไข้เลือดออกและซ่อมบำรุงและวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์
- พัฒนาบุคลากร และการสุขศึกษา เริ่มมีแผนงาน EPI ของประเทศไทย เพื่อให้วัคซีนพื้นฐานในเด็ก
- พัฒนาระบบห่วงลูกโซ่ความเย็นในการสนับสนุนวัคซีน (Cold Chain)
ช่วง พ.ศ. 2524 – 2525 มี นายแพทย์คติ จิรยุส

เป็นผู้อำนวยการและ พ.ศ. 2525 – 2526 มีนายแพทย์วิชิต มธุรสภาษณ์ เป็นผู้อำนวยการ ในระยะเวลานี้ เป็นช่วงที่อยู่ระหว่างการที่สร้างระบบการบริหารจัดการ และการรักษางานเดิม และเริ่มมีการจัดระบบของด่านควบคุมโรคชัดเจนนั้น โดยในระยะแรกแพทย์ในส่วนกลางจะทำหน้าที่เป็นแพทย์ตรวจคนเข้าเมือง แต่เนื่องจากแพทย์มีจำนวนจำกัด จึงมีการจัดระบบให้นักวิชาการสาธารณสุขและเจ้าพนักงานสาธารณสุขร่วมทำหน้าที่แพทย์ตรวจคนเข้าเมืองภายใต้การดูแลควบคุมของแพทย์ที่เป็นหัวหน้าฝ่ายควบคุมโรคระหว่างประเทศ
จนถึง พ.ศ. 2526 – 2531 นายแพทย์สมพร พฤกษราช

ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ ต่อมาดำรงตำแหน่งรองอธิบดีกรมควบคุมโรค เป็นยุคที่เริ่มต้นของการจัดการบริหารงานโดยมีแผนงานรองรับซึ่งเป็นระยะที่มีการจัดตั้ง ศูนย์ประสานงานทางวิชาการ (ศวต) ที่ส่วนกลางและศูนย์ประสานงานวิชาการระดับเขต จำนวน 12 เขต กรมควบคุมโรคติดต่อ ในปี พ.ศ. 2526 มีการระบาดของโรคหัดเยอรมันขึ้น มีผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น จึงเริ่มมีการใช้วัคซีนไข้หัดเยอรมันในเด็กนักเรียนหญิงชั้น ป.6 เป้นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2529 ในปี พ.ศ. 2528 มีการบูรณาการ (Integrate) งานควบคุมโรคติดต่อทั่วไปเข้าสู่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข จึงทำให้งานควบคุมโรคติดต่อทั่วไปเริ่มต้นพัฒนาขึ้นในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดและดำเนินการต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน และประกอบกับกรมควบคุมโรคได้ยกฐานะศูนย์ประสานงานทางวิชาการระดับเขต (สคต.) 1-12 โดยในช่วงเดียวกันนี้ กองโรคติดต่อทั่วไปได้รับความช่วยเหลือจาก GTZ (ไทย-เยอรมัน) ได้ให้การสนับสนุนการควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับในประชาชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พ.ศ. 2532 – 2534 สมัย นายแพทย์อุเทน จารณศรี

ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการกอง ต่อมาดำรงตำแหน่งรองอธิบดีกรมควบคุมโรคติดต่อและผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขในเวลาต่อมาได้มีการมุ่งเน้นการพัฒนาวิชาการส่งเสริมให้มีการศึกษาวิจัยมากขึ้น มีการนำวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในคน ชนิดผลิตจากเซลล์เพาะเลี้ยง (Tissue Culter) ฉีดป้องกันผู้สัมผัสโรค 5 ครั้งมาใช้แทนวัคซีน ผลิตจากสมองแกะและสมองหนู (Semple Vaccine และ Suckling Mouse brain vaccine) ซึ่งฉีด 17-24 เข็ม และได้เริ่มการนำวัคซีนป้องกันตับอักเสบบีมาใช้ในแผนงาน EPI
พ.ศ. 2535 – 2543 ช่วงนี้มี นายแพทย์ศุภมิตร ชุณห์สุทธิวัฒน์

เป็นผู้อำนวยการ ต่อมาดำรงตำแหน่งเป้นผู้ทรงคุณวุฒิฯ กรมควบคุมโรค เป็นช่วงที่มีการปรับเปลี่ยนหลายเรื่อง คือ การย้ายที่อยู่ใหม่จากวังเทวะเวสม์ มาอยู่ที่จังหวัดนนทบุรี ตามการเคลื่อนย้ายของกระทรวงสาธารณสุข (พ.ศ.2537) ปรับโครงสร้างการบริการจัดการภายในกรมควบคุมโรคติดต่อ จากการแบ่งงานเป็นกลุ่มโรค (Disease Oreinted) เป็นหลัก เป็นการทำงานตามภารกิจ (Functional Oreinted) มากขึ้น กองโรคติดต่อทั่วไปจึงจัดแบ่งงานเป็นกลุ่มวิชาการ กลุ่มสนับสนุนปฏิบัติการ กลุ่มพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กลุ่มไข้เลือดออก กลุ่มเภสัชกรรมและฝ่ายบริการงานทั่วไป (พ.ศ.2538) แต่หลังจากที่มีการแบ่งงานภายในเช่นนี้อยู่ประมาณ 1 ปี ก็ได้รปับกลับสู่การแบ่งงานตามกลุ่มโรคเป็นหลักอีก และในช่วงนี้จะมีการเรียนรู้เรื่องการบริหารแผนงานมากที่สุดโดยมีการกำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) พันธกิจ (Mission) ยุทธศาสตร์ (Strategic) เป็นต้น และเป็นยุคเริ่มต้นของการทำแผนตามยุทธศาสตร์ การเปลี่ยนที่สำคัญ คือ การเปลี่ยนความรับผิดชอบงานป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ไปอยู่ในการดูแลของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตามระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ.2535 และเป็นจุดเริ่มต้นการทำงานลักษณะการประสานอย่างใกล้ชิด ระหว่างกรมปศุสัตว์และกรมควบคุมโรค ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแนวคิด One Health ในปัจจบัน นอกจากนี้ได้ขยายการให้วัคซีนตับอักเสบบีครอบคลุมทั่วประเทศตามแผนงาน EPI และเนื่องจากมีการระบาดของโรคเลปโตสไปโรสิส (2539-2544) จึงได้มีการจัดตั้งโครงการโรคเลปโตสไปโรสิส ภายใต้การดูแลพัฒนาของผู้ทรงคุณวุฒิ ขณะนั้นคือ นายแพทย์องอาจ วชิรพันธุ์สกุล และได้จัดตั้งกลุ่มโรคติดต่ออุบัติใหม่และอุบัติซ้ำขึ้น ในกองโรคติดต่อทั่วไป ซึ่งต่อมาพัฒนาเป็นสำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ ในปัจจุบัน
พ.ศ.2543-2551 ยุคที่มี นายแพทย์ศิริศักดิ์ วรินทราวาท

เป็นผู้อำนวยการกอง ต่อมาดำรงตำแหน่งรองอธิบดีกรมควบคุมโรค เมื่อมีการปฏิรูปโครงสร้างกระทรวงสาธารณสุข ครั้งที่ 4 (พ.ศ.2545) กรมควบคุมโรคติดต่อได้ปรับเปลี่ยนเป็นกรมควบคุมโรค และยกฐานะกองต่างๆ จากกองวิชาการเป็นสำนักวิชาการ
เมื่อกองโรคติดต่อทั่วไป ได้ปรับเปลี่ยนเป็นสำนักโรคติดต่อทั่วไป นายแพทย์ศิริศักดิ์ วรินทราวาท จึงเป็นผู้อำนวยการสำนักโรคติดต่อทั่วไปท่านแรก จากการปฏิรูปโครงสร้างนี้ สำนักงานควบคุมโรคติดต่อเขต ถูกยกฐานะเป็นสำนักงานป้องกันควบคุมโรคเขต ในยุคนี้จึงมีการคปรับเปลี่ยนการปฏิบัติงานภายในสำนักอย่างมาก โดยการทำงานมุ่งเน้นการพัฒนาวิชาการ เพื่อสร้างผลผลิตสู่ลูกค้าโดยคำนึงถึงความพอใจของลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นหลัก ดังนั้นจึงมีการประสานงานและความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างสำนักโรคติดต่อทั่วไปและสำนักงานป้องกันควบคุมโรคเขต เพื่อนำผลผลิตสู่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดและประชาชน ในช่วงเวลานี้มีวิกฤตการร์ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่ซึ่งมีผลกระทบต่อประเทศ ได้แก่ การเกิดการระบาดของโรค SARS ในกระเทศเวียดนาม (พ.ศ.2546) และมีแพทย์จากองค์การอนามัยโลกชาวอิตาลี ได้ไปทำการสอบสวนโรค และมีอาการป่วยขณะเดินทางเข้ามาประชุมในประเทศไทย จึงได้รับการรักษาที่โรงพยาบาลบำราศนราดูร แต่ต่อมาได้เสียชีวิต จึงเป็นจุดขับเคลื่อนที่สำคัญของระบบการเผ้าระวังโรคในผู้เดินทางเข้าประเทศอย่างเข้มแข็ง และเป็นจุดเริ่มต้นของการจัดระบบการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสารณสุขของกรมฯ ในระยะเวลาต่อมา นอกจากนี้ยังมีวิกฤตจองการระบาดของโรคไข้หวัดนก H5N1 ซึ่งทำให้เกิดวิกฤตทั่วโลกและมีกระทบทั้งด้านเศรษฐกิจ และสาธารณสุขอย่างมาก โดยเฉพาะในประเทศไทย ซึ่งพบผู้ป่วยเสียชีวิตด้วยโรคนี้และมีการประบาดอย่างรุนแรงในสัตว์ปี ในช่วงปี พ.ศ.2547 – 2549 ซึ่งสำนักโรคติดต่อทั่วไป และสำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ ซึ่งถือกำเนิดขึ้นได้มีการประสานงานอย่างใกล้ชิดกับกรมปศุสัตว์โดยอาศัยความร่วมมือที่เริ่มต้นมาจากยุคที่ผ่านมาและได้ขยายความร่วมมือไปยังส่วนราชการอื่นๆ อาทิ เช่นกระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงศึกษาธิการ เป็นต้น เพื่อระดมสรรพกำลังในการที่จะหยุดการระบาดของโรคไข้หวัดนก H5N1 และไม่ให้มีผู้เสียชีวิตเกิดขึ้น ซึ่งก็ประสบความสำเร็จด้วยดีในปี พ.ศ.2550 ซึ่งไม่พบผู้เสียชีวิตด้วยโรคนี้ทั้งในคนและสัตว์ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
พ.ศ.2551-2556 ช่วงระหว่าง นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์

เป็นผู้อำนวยการ ซึ่งต่อมาได้ดำรงตำแหน่งรองอธิบดีกรมควบคุมโรคถึงปัจจุบัน เป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงประกาศใช้ยุทธศาสตร์กรมควบคุมโรค ปี พ.ศ.2552-2563 โดยมีวิสัยทัศน์ “เป็นองค์กรชั้นนำระดับนานาชาติที่สังคมเชื่อถือและไว้วางใจ เพื่อปกป้องกันประชาชนจากดรคและภัยสุขภาพ ด้านความเป็นเลิศทางวิชาการภายในปี 2563” และมี 6 ยุทธศาตร์ในการดำเนินการ ดังนั้นการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงด้านการบริหารจัดการของสำนักโรคติดต่อทั่วไป จึงได้รับระบบเพื่อให้สอดคล้องการการทำงานเพื่อมู่งสู่วิสัยทัศน์ของกรมฯ โดยจัดแบ่งกลุ่มงานต่างๆ ออกเป็นกลุ่มพัฒนาวิชาการที่ 1-4 และกลุ่มสนับสนุนปฏิบัติการ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มยุทธศาสตร์และพัฒนาองค์กร กลุ่มพัฒนาภาคีเครือข่ายและสื่อสารสาธารณะ และกลุ่มบริหารทั่วไป อีกทั้งเพื่อให้ตามยุทธศาสตร์ของกรมฯ และประกอบกับเป็นช่วงที่มีภัยพิบัติเกิดขึ้นหลายเรื่องคือ เกิดการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ H1N1 (พ.ศ.2552) เกิดการระบาดทั่วโลก ดังนั้นสำนักโรคติดต่อทั่วไป จึงทำหน้าที่ของการสนันสนุนเวชภัณฑ์วัคซีน อุปกรณ์ให้กับหน่วยงานและประชาชนทั่วไปในกลุ่มเสี่ยง ซึ่งต่อมาจึงได้มีกลุ่มงานการปฏิบัติหน้าที่ตอบโต้ภาวะฉุกเฉินขึ้น โดยนำรูปแบบ ICS (Incidence Command System) มาใช้ และได้จัดการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านภัยพิบัติที่สำคัญคือ เกิดมหาอุทกภัยในกรุงเทพมหานครและอีกหลายจังหวัดในภาคกลางและภาคเหนือตอนล่าง (พ.ศ.2554) ซึ่งสำนักโรคติดต่อทั่วไป มีบทบาทอย่างมาก โดยมีคณะที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์ (STAG) ทำหน้าที่ในการวิเคราะห์และให้คำแนะนำการแก้ไขปัญหาทั้งด้านยุทธศาสตร์และวิชาการเรื่องต่างๆ เช่น การหลีกเลี่ยงจาการถูกไฟฟ้าดูดในขณะน้ำท่วม การป้องกันการจมน้ำในภาวะอุทกภัย การทำความสะอาดที่อยู่อาศัยและการกำจัดเชื้อรา การช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่เป็นผู้ป่วยเรื้องรัง และโรคไม่ติดต่อ เช่น เบาหวาน ความดัน เป็นต้น นอกจากนี้ มีการจัดหาเวชภัณฑ์ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย พร้อมทั้งสิ่งจำเป็นการดำรงชีพในภาวะอุทกภัย และการเผยแพร่ให้ความรู้กับประชาชน เพื่อป้องกันราดระบาดของโรคติดต่อทั่วไป เช่น โรคอุจจาระร่วง โรคเลปโตสไปโรสิส โรคตาแดง โรคน้ำกัดเท้า เป็นต้น ดังนั้น จึงเป็นการวางพื้นฐานการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน อย่างจริงจังและเป็นระบบ ซึ่งนำมาสู่การปฏิบัติในช่วงระยะต่อไป
พ.ศ.2556-ปัจจุบัน ซึ่งมี นายแพย์รุ่งเรือง กิจผาติ

เป็นผู้อำนวยการ เป็นอีกยุคซึ่งประสบกับอุบัติโรคติดต่อ ได้แก่ โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ซึ่งมีความรุนแรงและระบาดในทวีปแอฟริกาด้านตะวันตก ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ.2557 และมีแนวโน้มที่จะระบาดไปในทวีปอื่นๆ เช่น อเมริกา ยุโรป เป็นต้น และเป็นเรื่องที่สำนักโรคติดต่อทั่วไปให้ความสำคัญอย่างมาก เพราะเป็นโรคที่จะต้องมีการเฝ้าระวังระหว่างประเทศ โดยเน้นการเฝ้าระวังผู้เดินทางเข้าจากประเทศที่มีการระบาดของโรค ซึ่งเป็นบทบาทหน้าที่ของสำนักโรคติดค่อทั่วไปโดยตรง โดยขณะนี้สถานการของโรคยังไม่มีรายงานในประเทศไทย.
การปฏิบัติงานการควบคุมป้องกันโรคติดต่อทั่ว มีนโยบายเชิงรุกเข้าสู้พื้นที่และมุ่งสร้างความพึงพอใจของลูกค้า และประโยชน์ในการป้องกันควบคุมโรค โดยเน้น 3P คือ
1.Product ทุกกลุ่มงานจะต้องมีผลผลิตที่เข้าถึงลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานป้องกันควบคุมโรค เพื่อนำสู่การควบคุมป้องกันโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.Plan ต้องมีแผนที่เข้าถึงลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อศึกษาหาความต้องการ และความพึงพอใจของผลผลิตที่นำสู่การปฏิบัติและควบคุมโรคได้ ปรับปรุงผลผลิตให้มีประสิทธิภาพ และมีผลสัมฤทธิ์ต่อการควบคุมป้องกันโรค
3.People หมายถึงคนในองค์กร จะเน้นการส่งเสริ้มให้เกิการทำงานเป็นทีม ความรักองค์กรและสร้างความร่วมมือ สามารถทำงานทดแทนกันได้ มีความรู้หลายๆด้าน และมีความเชี่ยวชาญในงานที่รับผิดชอบ และสามรถสร้างผลผลิตรวมถึงงานวิจัย และเกิดการยอมรับของลูกค้า และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและการทำงานภายใต้ Concept One Health