 |
วัคซีนป้องกันไวรัสแปปปิโลมา (วัคซีนเอชพีวี)ไวรัสแปปปิโลมาหรือเชื้อเอชพีวี เป็นสาเหตุสำคัญของการติดเชื้อ
บริเวณอวัยวะเพศซึ่งจะนำไปสู่การเป็นหูด หรือมะเร็งในเวลาหลายปีต่อมา การ
ติดเชื้อเอชพีวีมักไม่แสดงอาการผิดปกติและหายได้เอง แต่ผู้ที่มีการติดเชื้อสาย
พันธุ์ชนิดที่มีความเสี่ยงสูงเช่น สายพันธุ์ 16, 18 จะทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกใน
เวลาต่อมาได้
ดาวน์โหลดไป 3068 ครั้ง |
 |
วัคซีนป้องกันโรคจากเชื้อฮิบเชื้อฮิบ เป็นแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่มีชื่อเต็มว่า ฮีโมฟิลุส อินฟลูเอนเซ่ ชนิดทัยป์ บี ที่มักก่อโรคในเด็กเล็ก โดยเฉพาะที่อายุต่ำกว่า 2 ปี ทำให้เกิดโรคที่สำคัญหลายอย่าง เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ติดเชื้อในกระแสเลือด ปอดอักเสบ ข้ออักเสบ และหูชั้นกลางอักเสบ
ดาวน์โหลดไป 4943 ครั้ง |
 |
วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดฉีด (ไอพีวี)วัคซีนป้องกันโปลิโอชนิดฉีด (ไอพีวี) นี้ เป็นวัคซีนชนิดเชื้อตาย มีประสิทธิภาพดีพอๆ กับชนิดรับประทาน และมีความปลอดภัยสูง สามารถใช้กับเด็กทั่วไปและผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องได้
เด็กทั่วไปจะใช้วัคซีนชนิดรับประทานหรือฉีดก็ได้ วัคซีนทั้งสองสามารถใช้แทนกันได้
ดาวน์โหลดไป 3380 ครั้ง |
 |
วัคซีนป้องกันโรคไข้กาฬหลังแอ่นสำหรับเด็กนักเรียนที่จะเดินทางไปเรียนต่อต่างประเทศ บางประเทศในแถบทวีปยุโรป อเมริกา และประเทศซาอุดิอาราเบีย มีระเบียบต้องให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้กาฬหลังแอ่นก่อนเข้าประเทศ อย่างน้อย 10 วันก่อนเดินทางโดยฉีดครั้งเดียว ภูมิต้านทานจะอยู่ได้นาน 3-5 ปี
ดาวน์โหลดไป 2099 ครั้ง |
 |
วัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใสเด็กซึ่งยังไม่เคยมีประวัติเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อน ควรพิจารณาให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส 2 ครั้ง โดยครั้งแรกแนะนำให้ฉีดเมื่ออายุประมาณ 12-18 เดือน ครั้งที่สองเมื่ออายุ 4-6 ปี หรือห่างจากเข็มแรกอย่างน้อย 3 เดือน สำหรับวัยรุ่นอายุตั้งแต่ 13 ปีขึ้นไป ให้ฉีดวัคซีน 2 ครั้ง ห่างกัน อย่างน้อย 4-8 สัปดาห์
ดาวน์โหลดไป 5053 ครั้ง |
 |
วัคซีนป้องกันโรคไข้ทัยฟอยด์หรือไข้รากสาดน้อยไข้ทัยฟอยด์หรือไข้รากสาดน้อย เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อซัลโมเนลล่าที่ติดต่อโดยการรับประทานอาหาร หรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อนี้ เชื้อมักปนเปื้อนในผักสด เปลือกของผลไม้ และน้ำดื่ม
ผู้ป่วยจะมีอาการเบื่ออาหาร มีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว อาจมี
ผื่น ถ่ายเหลว หรือท้องผูกได้ บางรายอาจมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น เลือดออกใน
ทางเดินอาหาร ลำไส้ทะลุ ไตวาย
ดาวน์โหลดไป 1321 ครั้ง |
 |
วัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบเอโรคไวรัสตับอักเสบเอ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ ติดต่อได้โดยการรับประทานอาหารและน้ำดื่ม ที่มีเชื้อปนเปื้อน เชื้อไวรัสสามารถพบได้ในอุจจาระของผู้ที่ติดเชื้อ
ผู้ที่ติดเชื้ออาจไม่มีอาการ หรือมีอาการตั้งแต่น้อยจนถึงรุนแรงมากทำให้เกิดตับอักเสบแบบเฉียบพลัน ดีซ่าน ตัวเหลือง ตาเหลือง และตับวายได้
ดาวน์โหลดไป 2765 ครั้ง |
 |
วัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบีโรคไวรัสตับอักเสบบี เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี โดยการสัมผัสกับเลือดหรือสารคัดหลั่งของผู้ที่ติดเชื้อผ่านทางบาดแผลบนผิวหนัง การใช้ของใช้ส่วนตัวที่ปนเปื้อนกับเลือดหรือสารคัดหลั่งต่างๆ
ดาวน์โหลดไป 2541 ครั้ง |
 |
วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่เอกสารแนะนำความรู้เกี่ยวกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่สำหรับประชาชนเพื่อให้ทราบถึงประโยชน์ของการฉีกวัคซีน ผลข้างเคียง และวิธีการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่
ดาวน์โหลดไป 2311 ครั้ง |
 |
วัคซีนป้องกันโรค คอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน ชนิดไร้เซลล์ (ชนิดสูตรสำหรับเด็กโตและผู้ใหญ่)แต่เดิมวัคซีนที่ใช้ฉีดกระตุ้นนี้เป็นวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ-บาดทะยัก (ไม่มีไอกรน) เพราะวัคซีนที่มีไอกรนที่ใช้ในเด็กเล็ก อาจเกิดผลข้างเคียงในเด็กโตและผู้ใหญ่ได้มาก แต่โรคไอกรนสามารถเกิดในเด็กโตและผู้ใหญ่ได้ด้วยและอาจแพร่เชื้อมาให้เด็กเล็กได้ จึงเริ่มนำวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนชนิดไร้เซลล์ ชนิดสูตรสำหรับเด็กโตและผู้ใหญ่มาใช้แทนที่วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ-บาดทะยัก (ไม่มีไอกรน)
ดาวน์โหลดไป 1980 ครั้ง |
 |
วัคซีนป้องกันโรค คอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน (วัคซีนชนิดไร้เซลล์)วัคซีนป้องกันโรค คอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน ทำจากพิษของเชื้อคอตีบและเชื้อบาดทะยักที่ผ่านขั้นตอนทำให้ไม่ก่อโรคในคน รวมกับส่วนประกอบบางส่วนของเชื้อไอกรนที่แยกบริสุทธิ์ วัคซีนนี้ต่างกับวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน ชนิดปกติ ตรงที่ส่วนประกอบของเชื้อไอกรนนี้เอง ซึ่งทำให้เป็นวัคซีนที่มีอาการข้างเคียงต่ำลง เมื่อได้รับวัคซีนครบตามกำหนด จะมีภูมิคุ้มกันต่อโรคคอตีบ-บาดทะยัก และไอกรนได้ดีมาก ป้องกันโรคชนิดรุนแรงสูงสุดได้ทั้งหมด
ดาวน์โหลดไป 1773 ครั้ง |
 |
วัคซีนป้องกันโรควัณโรคหรือวัคซีนบีซีจีวัณโรค เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อวัณโรค (เชื้อมัยโคแบคทีเรีย) ทำให้มีอาการไข้เรื้อรัง หรืออ่อนเพลีย น้ำหนักลด เป็นอาการเด่น ร่วมกับอาการอื่น ๆ ตามตำแหน่งที่เป็นโรค เช่นวัณโรคปอดจะมีอาการไอเรื้อรัง วัณโรคต่อมน้ำเหลืองจะมีต่อมน้ำเหลืองโต วัณโรคเยื่อหุ้มสมองจะมีอาการชักหมดสติได้ การติดต่อมักเกิดจาก การสูดดมเชื้อที่แพร่ กระจายมากจากการไอจามของผู้ที่เป็นโรค
ดาวน์โหลดไป 1572 ครั้ง |
 |
แผ่นพับคำแนะนำในการป้องกันโรคไข้ฉี่หนูในภาวะน้ำท่วมสำหรับประชาชนคำแนะนำสำหรับประชาชนในการป้องกันตนเองจากโรคไข้ฉี่หนูในภาวะน้ำท่วม
ทั้งเรื่องการป้องกันตนเอง การสังเกตอาการกรณีที่สงสัยว่าป่วย
ดาวน์โหลดไป 2716 ครั้ง |
 |
วัคซีนป้องกันโรค คอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน วัคซีนชนิดทั้งเซลล์คอตีบ เกิดจากพิษของเชื้อคอตีบที่ทำให้มีการอักเสบในลำคออย่างรุนแรง จนอาจทำให้หายใจไม่ได้ และอาจทำให้หัวใจวายได้ เชื้อแพร่มาจากลำคอของผู้ที่เป็นพาหะ
บาดทะยัก เกิดจากพิษของเชื้อบาดทะยักที่มักเข้าร่างกายทางบาดแผล ทำให้มีอาการชักรุนแรงจนเสียชีวิตได้ เชื้อมีอยู่ทั่วไปในสิ่งแวดล้อม
ไอกรน เกิดจากเชื้อไอกรนทำให้มีอาการไอรุนแรงเป็นเวลานาน ในเด็กเล็กอาจไอจนหยุดหายใจ ชัก ซี่โครงหักได้ เชื้อแพร่มาจากลำคอของผู้ป่วย
โรคคอตีบ บาดทะยัก และไอกรน สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน
ดาวน์โหลดไป 1485 ครั้ง |
 |
วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า คือ วัคซีนที่ผลิตจากเชื้อพิษสุนัขบ้าที่ตายแล้ว และไม่ก่อให้เกิดโรค วัคซีนนี้สามารถให้กับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคพิษสุนัขบ้า และช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคเมื่อถูกสัตว์ที่มีเชื้อโรคนี้กัด วัคซีนนี้มีความปลอดภัยสูง และมีประสิทธิภาพดีในการป้องกันโรค หากฉีดได้ครบตามกำหนด
ดาวน์โหลดไป 1577 ครั้ง |
 |
วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสชนิดคอนจูเกต หรือวัคซีนป้องกันโรคไอพีดีเชื้อนิวโมคอคคัส เป็นสาเหตุที่พบบ่อยของโรคปอดบวม โรคติดเชื้อในกระแสเลือด และโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ บางครั้งก่อให้เกิดโรคที่มีความรุนแรงและเสียชีวิตได้ มักพบในเด็กเล็ก และผู้ที่มีความเสี่ยงสูงได้แก่ อายุมากกว่า 65 ปี เด็กเล็ก และผู้ที่มีโรคประจำตัว
ดาวน์โหลดไป 2534 ครั้ง |
 |
วัคซีนป้องกันโรค บาดทะยัก-คอตีบบาดทะยัก เกิดจากพิษของเชื้อบาดทะยักที่มักเข้าร่างกายทางบาดแผล ทำให้มีอาการเกร็ง กระตุกของกล้ามเนื้อ ขากรรไกร อ้าปากไม่ได้ รับประทานอาหารลำบาก หายใจลำบาก รุนแรงจนเสียชีวิตได้ เชื้อบาดทะยักมีอยู่ทั่วไปในสิ่งแวดล้อม
คอตีบ เกิดจากพิษของเชื้อคอตีบที่ทำให้มีการอักเสบในลำคออย่างรุนแรง จนอาจทำให้หายใจไม่ได้ และอาจทำให้หัวใจวายได้ เชื้อแพร่มาจากลำคอของผู้ที่เป็นพาหะ
ดาวน์โหลดไป 2091 ครั้ง |
 |
วัคซีนป้องกันโรคหัด-คางทูม-หัดเยอรมันเด็กทุกคนควรได้รับวัคซีนนี้ (ยกเว้นบางกรณี) โดยการฉีดเข้าใต้ผิวหนัง
ในเด็กควรฉีด 2 ครั้ง ดังนี้
ครั้งที่ 1 เมื่ออายุประมาณ 9-12 เดือน ขึ้นไป
ครั้งที่ 2 เมื่ออายุประมาณ 4-6 ปี
วัคซีนป้องกันโรคหัด-คางทูม-หัดเยอรมัน สามารถให้พร้อมกับวัคซีนอื่นๆได้ในวันเดียวกัน แต่ต้องแยกเข็มฉีด
ดาวน์โหลดไป 3462 ครั้ง |
 |
วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดรับประทานวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดรับประทาน ทำมาจากเชื้อไวรัสที่มีชีวิต ที่ทำให้
อ่อนฤทธิ์ลง และไม่สามารถก่อโรคในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันปกติ โดยผ่านขบวนการผลิตให้
ได้เป็นวัคซีนที่มีความปลอดภัย วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดรับประทานมี
ประสิทธิภาพสูงในการป้องกันโรค หากได้รับครบถ้วนตามกำหนด
ดาวน์โหลดไป 2043 ครั้ง |
 |
วัคซีนป้องกันโรคไข้เหลืองความรู้แนะนำโรคไข้เหลือง การรับวัคซีนที่ใช้ป้องกันโรคและความจำเป็นในการได้รับวัคซีนป้องกันโรค
ดาวน์โหลดไป 1307 ครั้ง |