
- ชมรมเลปโตสไปโรสิสฯ
- ศูนย์เด็กเล็กปลอดโรค
- ข่าวสารสำหรับประชาชนเรื่องโรคติดต่อทั่วไปและภัยสุขภาพ
- ข่าวประชาสัมพันธ์
- จัดซื้อ/จัดจ้าง/เสนอแนะวิจารณ์
- สถานการณ์โรค
- คำรับรองการปฏิบัติราชการ
- ผลการดำเนินงาน
- KM สำนัก ต.
- เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 2559
- ปฏิทินกิจกรรม
- ภาพกิจกรรม
- สื่อ-สิ่งพิมพ์เผยแพร่
- สื่อมัลติมีเดีย
- เว็บลิงค์
- ถาม - ตอบ ข้อสงสัยเกี่ยวกับเว็บสำนักโรคติดต่อทั่วไป
- e-learning
- English Zone
- gcd_cars and drivers
- แบบฟอร์ม


โรคติดต่อและอาการสำคัญ - 113672 ครั้ง
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อโรคติดต่อและอาการสำคัญ |
ตาม ที่กระทรวงสาธารณสุขได้มีประกาศลงวันที่ 18 ธันวาคม 2524 วันที่ 4 กันยายน 2534 วันที่ 20 มกราคม 2541 และวันที่ 30 มีนาคม 2546 กำหนดชื่อโรคติดต่อและอาการสำคัญ จำนวน 47 โรค นั้น อาศัย อำนาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2523 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและ เสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบมาตรา 31 มาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบท บัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขจึงให้ปรับปรุงแก้ไขและให้ประกาศกำหนดขึ้น ใหม่ซึ่งชื่อโรคติดต่อและอาการสำคัญ ดังนี้ |
|
|
1. |
อหิวาตกโรค (Cholera) มีอาการถ่ายเหลวเป็นน้ำอย่างมาก อาเจียน ตาโหล ผิวหนังเหี่ยวย่น ปัสสาวะน้อยหรือไม่ปัสสาวะ ถ้าไม่ได้รับการรักษาผู้ป่วยจะถึงแก่กรรมได้อย่างรวดเร็ว โรคนี้ระบาดลุกลามได้ |
2. |
กาฬโรค (Plague) อาการของโรคจะมีอาการบวมและเจ็บของต่อมน้ำเหลือง โลหิตเป็นพิษ เลือดออกใต้ผิวหนังเป็นจ้ำๆ ไข้สูง กระสับกระส่าย เดินผิดปกติ อ่อนเพลีย เพ้อ และหมดสติ จนถึงช็อคได้ กาฬโรคแบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ แบบต่อมน้ำเหลืองบวม แบบโลหิตเป็นพิษ และแบบปอดอักเสบ โรคนี้ระบาดลุกลามได้อย่างรวดเร็ว |
|
|
3. |
ไข้ทรพิษ (Variola หรือ Smallpox) อาการของโรคจะมีไข้สูง ปวดตามตัว ปวดศีรษะ ปวดหลัง อ่อนเพลีย อาจมีอาการปวดท้องร่วมด้วย ระยะก่อนที่จะมีผื่นขึ้น จะมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ หลังจากไข้สูงแล้วจะปรากฏผื่นขึ้น ต่อมาจะกลายเป็นตุ่ม ตุ่มใส ตุ่มหนอง และตกสะเก็ด ซึ่งจะกินเวลานานประมาณ 3-4 สัปดาห์ โดยผื่นจะปรากฏที่บริเวณใบหน้า และแขน ขา มากกว่าบริเวณลำตัว โดยเฉพาะที่ได้รับการเสียดสีบ่อยๆ แผลที่ตกสะเก็ด เมื่อหายแล้วอาจให้เกิดผลเป็นรอยบุ๋ม และยังอาจทำให้เกิดความพิการ จนถึงตาบอดได้ โรคนี้ระบาดลุกลามได้อย่างรวดเร็ว |
4. |
ไข้เหลือง (Yellow fever) อาการไข้สูงทันที นานประมาณ 5 – 7 วัน ปวดศีรษะ ปวดหลัง อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน อาจจะมีเลือดกำเดา เลือดออกในปาก อาเจียน และถ่ายเป็นเลือด ในระยะแรกของโรคอาจมีอาการตัวเหลือง ตาเหลืองปานกลาง ต่อมามีอาการมากขึ้น และอาจถึงแก่กรรมได้ โรคนี้ระบาดลุกลามได้อย่างรวดเร็ว |
|
|
5. |
ไข้กาฬหลังแอ่น (Meningococcal meningitis) มีอาการอย่างรวดเร็ว มีไข้ ปวดศีรษะอย่างรุนแรง คลื่นไส้ อาเจียน ชักกระตุกหลังแอ่น คอแข็ง อาจพบมีผื่นหรือจ้ำตามลำตัว และจะมีอาการไม่รู้สึกตัว จนถึงหมดสติได้ |
6. |
คอตีบ (Diphtheria) อาการเป็นไข้ เจ็บในคอ บางครั้งจะมีอาการบวมแดงอักเสบรอบๆ คอ ในลำคออาจจะมีแผ่นเนื้อเยื่อสีเทา ทำให้หายใจลำบาก มีอาการหอบหน้าเขียว หรือมีอาการของกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจนถึงแก่กรรมอย่างกะทันหันได้ |
|
|
7. |
ไอกรน (Pertussis) มีอาการจากน้อยแล้วค่อยๆ มากขึ้น ภายใน 1 – 2 สัปดาห์ โดยจะมีอาการไอค่อยๆ มากขึ้น มีเสียงหายใจดังฮู๊บ จนกระทั่งไอถี่อย่างมากจนตัวงอ จะมีระยะเวลาของโรคนี้ประมาณ 2 – 3 เดือน |
|
|
8. |
โรคบาดทะยัก (Tetanus) มีอาการเกร็งและกระตุกของกล้ามเนื้อบริเวณขากรรไกร บริเวณคอ บริเวณลำตัว โดยเฉพาะเมื่อได้รับการกระตุ้นจากเสียงและแสง สติไม่เปลี่ยนแปลง |
9. |
โปลิโอ (Poliomyelitis) มีไข้ ปวดศีรษะ มีอาการผิดปกติในระบบทางเดินอาหาร ปวดกล้ามเนื้อ เจ็บต้นคอและบริเวณหลัง อาจจะมีอัมพาตร่วมด้วยก็ได้ ตำแหน่งที่จะพบบ่อยที่บริเวณขาข้างใดข้างหนึ่ง โดยเป็นอัมพาตชนิดอ่อนเปียกแต่ไม่สูญเสียประสาทรับความรู้สึก |
|
|
10. |
ไข้หัด (Measles) มีอาการไข้นำมาก่อน ต่อมามีเยื่อบุหนังตาอักเสบมีอาการคล้ายเป็นหวัด หลอดลมอักเสบ และมีจุดสีแดงที่เยื่อบุแก้ม หลังจากมีไข้ประมาณ 3 – 7 วัน จะมีผื่นปรากฏที่บริเวณหน้า ต่อมาผื่นจะปรากฏทั้งตัว อยู่นาน 4 – 6 วัน แล้วจะลอกออกไป ปรากฏเป็นสีแดงคล้ำอยู่หลายวัน |
|
|
11. |
ไข้หัดเยอรมัน (German measles หรือ Rubella) มีไข้ต่ำๆ อยู่ประมาณ 1 – 5 วัน ปวดศีรษะ ครั่นเนื้อครั่นตัวคล้ายเป็นหวัดอย่างอ่อน เยื่อบุหนังตาอักเสบ ต่อมน้ำเหลือง บริเวณศีรษะหลังใบหู หรือบริเวณท้ายทอยโตและกดเจ็บ มีผื่นขึ้นตามร่างกายคล้ายผด ลักษณะสำคัญ คือ ถ้าเกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์จะทำให้ทารกที่เกิดมาอาจมีอาการพิการแต่กำเนิดได้ |
12. |
โรคคางทูม (Mumps) เกิดมีอาการไข้ บวม และปวดบริเวณต่อมน้ำลายอาจเป็นต่อมน้ำลายใต้ลิ้น ต่อมน้ำลายใต้โหนกแก้มข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้างในผู้ป่วยเพศชายจะมีอาการอักเสบของลูกอัณฑะ ในผู้ป่วยเพศหญิงจะมีอาการอักเสบของรังไข่ได้ |
|
|
13. |
ไข้สุกใส (Chickenpox หรือ Varicella) มีอาการไข้ต่ำๆ ไม่สบายตามร่างกายเล็กน้อย ต่อมาประมาณ 2 – 3 ชั่วโมง จะมีตุ่มแดงนูนเล็กน้อยปรากฏที่ผิวหนัง ตุ่มนี้จะกลายเป็นตุ่มใสภายใน 3 – 4 วัน แล้วจะตกสะเก็ด ตุ่มจะปรากฏตามร่างกายในร่มผ้ามากกว่าส่วนอื่นๆ และอาจจะพบได้ที่หนังศีรษะ ซอกรักแร้ เยื่อบุปาก ในคอ และเยื่อบุหนังตา ตุ่มเหล่านี้จะปรากฏเป็นชนิดต่างๆ กัน ในระยะเวลาเดียวกัน |
|
|
14. |
ไข้หวัดใหญ่ (Influenza) มีอาการไข้ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ และอ่อนเพลียมาก เจ็บคอ ต่อมาจะเริ่มมีอาการไอและไอมากขึ้นๆ ในตอนหลังปกติมักจะหายเองได้ ภายใน 2 – 7 วัน สำหรับไข้หวัดใหญ่ที่ติดต่อมาจากสัตว์ เช่น สัตว์ปีกอาจมีอาการปอดบวมร่วมด้วยและรุนแรงจนถึงเสียชีวิต |
15. |
ไข้สมองอักเสบ (Encephalitis) ไข้มีสูงขึ้น ปวดศีรษะมาก หมดสติ กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง ชัก อาจมีอาการอัมพาตหรือพิการทางสมองได้ |
|
|
16. |
ไข้เลือดออก (Haemorrhagic fever) อาการของโรคจะมีไข้ขึ้นสูงอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ซึม มีผื่นจุดแดง คล้ายยุงกัดบริเวณผิวหนัง แขน ขา ลำตัว อาจมีอาเจียนเป็นโลหิตเก่า หรือถ่ายอุจจาระสีดำ หรืออาจมีอาการถึงช็อค และถึงแก่กรรมได้ |
|
|
17. |
โรคพิษสุนัขบ้า (Rabies) อาการสำคัญได้แก่ คันบริเวณที่ถูกสุนัขหรือสัตว์อื่นกัด รู้สึกผวาเมื่อถูกลม ปวดศีรษะ เป็นไข้ กลืนอาหารและน้ำลำบาก มีอาการชักกระตุก และมีอาการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อระบบกลืน ทำให้ผู้ป่วยมีอาการกลัวน้ำต่อมา เพ้อคลั่ง และหมดสติ ถึงแก่กรรม จากระบบหายใจล้มเหลว |
18. |
โรคตับอักเสบ (Hepatitis, viral) มีอาการผิดปกติของการทำงานของตับ ซึ่งมักจะทำให้เกิดมีตาเหลืองเกิดขึ้น อาการของโรคขึ้นอยู่กับชนิดของไวรัสซึ่งจะมีอาการต่างกันออกไป แต่ส่วนมากผู้ป่วยมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร มีอาการแน่นท้อง ตาเหลืองในที่สุด อาการตาเหลืองอาจไม่พบในบางราย |
|
|
19. |
โรคตาแดงจากไวรัส (Conjunctivitis, viral) เริ่มมีอาการปวดเคืองตาคล้ายกับมีผงเข้าตา ประมาณ 1 – 2 วัน เปลือกตาจะบวม เยื่อบุตาจะแดง มีขี้ตาและมีเลือดออกใต้เยื่อบุตา โดยเริ่มที่บริเวณหัวตาก่อน ต่อมน้ำเหลืองบริเวณใบหูจะโต บางครั้งจะมีอาการคล้ายไข้หวัด อาการของโรคจะดีขึ้นเองภายใน 1 – 2 สัปดาห์ |
|
|
20. |
อาหารเป็นพิษ (Food poisioning) อาการจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วโดยจะมีผู้ป่วยเกิดขึ้นคราวละมากๆ และเกิดขึ้นในระยะเวลาใกล้เคียงกันในกลุ่มผู้บริโภคอาหารชุดเดียวกัน โดยจะมีอาการในระบบทางเดินอาหารอย่างชัดเจน เช่น คลื่นไส้ อาเจียน และ/หรือมีอาการถ่ายเหลวร่วมด้วย |
21. |
โรคบิดแบซิลลารี่ (Bacillary dysentery) อาการถ่ายเหลว มีไข้ อาเจียน ปวดท้อง ปวดเบ่งขณะถ่ายอุจจาระ ในกรณีที่มีอาการมากขึ้นจะมีถ่ายอุจจาระเป็นมูก เป็นเลือดด้วย |
|
|
22. |
โรคบิดอมีบา (Amoebic dysentery) มีอาการไข้ หนาวสั่น ถ่ายเป็นมูก เป็นเลือด ในกรณีที่มีอาการไม่มาก ผู้ป่วยมีอาการเพียงปวดท้องสลับการถ่ายเหลวบางครั้ง ในกรณีที่มีอาการมากอาจมีการแพร่กระจายของเชื้อดังกล่าวไปยังอวัยวะอื่นๆ เช่น ตับ ปอดหรือสมองได้ |
|
|
23. |
ไข้รากสาดน้อย (Typhoid) มีอาการไข้ลอยติดกันหลายวัน ปวดศีรษะ ปวดตามตัว เบื่ออาหาร ท้องผูก ชีพจรช้า และอาจมีจุดสีชมพูบริเวณลำตัว อาการของโรคอาจจะมีน้อย หรือไม่ชัดเจนก็ได้ ในรายที่มีอาการมากจะเกิดมีเลือดออกจากลำไส้เล็ก หรือมีการทะลุขึ้น |
|
|
24. |
ไข้รากสาดเทียม (Paratyphoid) ลักษณะของโรคมักจะมีอาการรวดเร็ว มีไข้ตลอดเวลา ม้ามโต บางครั้งพบมีจุดสีชมพูตามลำตัว ถ่ายอุจจาระเหลว ลักษณะอาการของโรคจะรุนแรงน้อยกว่าไข้รากสาดน้อย |
25. |
ไข้รากสาดใหญ่ (Typhus) มีอาการปวดศีรษะ หนาวสั่น อ่อนเพลีย มีไข้และปวดตามตัว อาจมีผื่นขึ้นได้ในวันที่ 5 – 6 ขึ้นกับความรุนแรงของโรค ผื่นจะเกิดขึ้นตามลำตัว ในบางรายอาการต่างๆ อาจหายได้เองในสัปดาห์ที่ 2 โรคนี้อาจเกิดระบาดลุกลามได้ |
|
|
26. |
สครัพไทฟัส (Scrub typhus) มีอาการเริ่มจากแผลบริเวณที่ไรกัดโดยจะมีลักษณะบุ๋มลงไปคล้ายรอยบุหรี่จี้ แล้วตามมาด้วยอาการไข้ ปวดศีรษะ เหงื่อออก ตาแดง ต่อมน้ำเหลืองโตในระยะปลายสัปดาห์แรก อาจจะมีผื่นแดงตามบริเวณลำตัว ลุกลามมาบริเวณแขน ขา |
|
|
27. |
มูรีนไทฟัส (Murine typhus) ลักษณะอาการป่วยเหมือนกับไข้รากสาดใหญ่ ยกเว้นแต่อาการของโรคจะรุนแรงน้อยกว่า |
|
|
28. |
วัณโรค (Tuberculosis) เป็นโรคติดเชื้อมัยโคบักเตรี ชนิดเรื้อรัง มีอาการไอ อ่อนเพลีย มีไข้ต่ำๆ ร่างกายจะผอมลง เสียงแหบ เจ็บหน้าอก และไอเป็นเลือด อาจเป็นวัณโรคที่ปอด ที่เยื่อหุ้มสมอง ที่ต่อมน้ำเหลือง หรือวัณโรคที่อวัยวะอื่นก็ได้ |
|
|
29. |
โรคเรื้อน (Leprosy) เป็นโรคติดต่อเรื้อรังที่มีอาการผิวหนังเป็นวงด่างสีจางกว่าสีผิวปกติ หรือสีแดงหรือนูนแดงหนา เป็นตุ่มผื่นหรือแผ่น ซึ่งชาหยิกไม่เจ็บ หรือแห้งเหงื่อไม่ออก และขนร่วง หากไม่รีบรักษาอาจจะเกิดความพิการบริเวณมือ เท้า และเป็นแผลเรื้อรัง |
|
|
30. |
ไข้มาลาเรีย (Malaria) ระยะเริ่มอาการ หลังถูกยุงก้นปล่องมีเชื้อกัดประมาณ 10- 14 วัน รู้สึกไม่สบาย ครั่นเนื้อครั่นตัว ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามร่างกายและกระดูกสันหลัง ประมาณ 2 – 3 วัน จึงเริ่มจับไข้ ระยะจับไข้ เริ่มจากหนาวสั่นและมากขึ้นจนสะท้าน ผิวหนังเย็นซีด คลื่นไส้ อาเจียน นานประมาณ 15 นาที ถึง 1 ชั่วโมง แล้วค่อยทุเลาลง จากนั้นอุณหภูมิร่างกายจะค่อยๆ เพิ่ม ไข้สูง ตัวร้อนจัด ปากซีด กระหายน้ำ ปวดศีรษะ อาเจียน อาจเกิดอาการกระสับกระส่าย เพ้อ นานประมาณ 1 – 4 ชั่วโมง เมื่อไข้ลด เหงื่อเริ่มออกตามหน้าตามตัวจนเปียกชุ่ม รู้สึกสบายขึ้น แต่เหนื่อยและอ่อนเพลีย อาการต่างๆ จะหายไปเป็นปกติ ถ้าไม่รักษาจะกลับเข้าสู่การจับไข้ใหม่ อาจจะจับไข้ทุกวัน หรือวันเว้นวันแล้วแต่ชนิดของเชื้อมาลาเรีย |
|
|
31. |
แอนแทร็กซ์ (Anthrax) การติดเชื้อแอนแทรกซ์ที่ผิวหนัง จะมีอาการคัน แล้วเกิดตุ่มน้ำใส บนผิวหนังบริเวณที่รับเชื้อ จากนั้นจะเปลี่ยนเป็นตุ่มสีแดงแล้วกลายเป็นตุ่มหนอง แตกออกเป็นแผลสีดำตรงกลางบุ๋มคล้ายรอยบุหรี่จี้รอบแผลจะบวมแดงแต่ไม่เจ็บ และจะมีตุ่มใหม่เกิดขึ้นรอบๆ แผลเดิม ต่อมน้ำเหลืองที่อยู่บริเวณใกล้เคียงกับที่รับเชื้อจะบวมโต |
|
การติดเชื้อแอนแทรกซ์ทาง เดินอาหารบริเวณช่องปากและช่องท้องแผลจะมีลักษณะคล้ายที่ผิวหนัง มีอาการปวด มวนท้องอย่างรุนแรง คลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด ช็อคหมดสติและตายได้ |
|
การติดเชื้อแอนแทรกซ์ทาง เดินหายใจ มีอาการระยะแรกๆ เหมือนกับการติดเชื้อของทางเดินหายใจทั่วไป ต่อมามีอาการ หายใจไม่เต็มอิ่ม หายใจขัด มีไข้สูง เจ็บหน้าอก ไอแห้งๆ อาจมีอาการของเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ช็อคหมดสติและตายภายใน 3 – 5 วัน |
|
|
32. |
โรคทริคิโนซิส (Trichinosis) มีอาการแตกต่างกันไป เช่น มีอาการบวมบริเวณเปลือกตาบน ในราววันที่ 10 – 11 อาจมีเลือดออกใต้หนังตา ใต้เล็บหรือใต้จอรับภาพในตา จะมีอาการปวดกล้ามเนื้อและหลัง แล้วมีอาการอื่นๆ เช่น ถ่ายอุจจาระเหลว มีไข้ อ่อนเพลียร่วมด้วย ในกรณีที่มีอาการมากจะมีการแทรกซ้อนในระบบทางเดินหายใจ ระบบประสาท และอาจมีผลต่อหัวใจ ทำให้ถึงแก่กรรมได้ |
|
|
33. |
โรคคุดทะราด (Yaws) ลักษณะ แผลเริ่มต้นเหมือนหูด และโตขึ้นช้าๆ จนมีรูปร่างคล้ายดอกกะหล่ำ แผลมีสะเก็ดเหลืองคลุม ถ้าแกะจะมีน้ำเหลืองไหลเยิ้ม อาจมีหลายแผล มักเป็นที่ฝ่ามือและฝ่าเท้าทำให้ผิวหนาถ้าปล่อยทิ้งไว้แผลนี้จะหายไปเอง แล้วกลับมาเป็นขึ้นใหม่ และจะทำลายเยื่อหุ้มกระดูกและกระดูกอ่อน ถ้าไม่รักษาอาจเกิดความพิการ |
|
|
34. |
โรคเลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) มี ไข้เฉียบพลัน ปวดศีรษะรุนแรง ตาแดง ปวดเมื่อยตามร่างกายมาก อาเจียน ปวดกล้ามเนื้อและกดเจ็บกล้ามเนื้อน่อง บางครั้งมีอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ดีซ่าน มีเลือดออกตามเยื่อบุและผิวหนัง อาจจะมีผื่นเกิดขึ้นอาการเหล่านี้จะปรากฏอยู่เป็นเวลา 2 – 3 วัน ถึง 3 สัปดาห์ เมื่อหายแล้วอาจกลับเป็นใหม่ได้อีก |
|
|
35. |
ซิฟิลิส (Syphilis) |
|
อาการสำคัญ |
|
ระยะที่ 1 ระยะแผลริมแข็ง เป็นตุ่มแดงแตกออกเป็นแผลนูนแข็งส่วนใหญ่มักเป็นที่อวัยวะสืบพันธุ์มักมีแผล เดียวพื้นแผลสะอาดและมีน้ำเหลืองปนเลือดคลุมก้นแผล แผลอาจหายได้เอง ไม่เจ็บ ต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบอาจจะโตด้วยแต่ไม่เจ็บปวด เกิดภายหลังรับเชื้อประมาณ 10 – 90 วัน |
|
ระยะที่ 2 ระยะออกผื่น มีผื่นขึ้นตามตัว และบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า ไม่คัน อาจมีไข้ต่ำๆ รู้สึกไม่สบาย ปวดศีรษะ ปวดตามข้อ ผมหรือขนคิ้วร่วง ต่อมน้ำเหลืองบริเวณขาหนีบหลังหูและข้อศอกโต อาจจะเจ็บเล็กน้อย อาการเหล่านี้จะเกิดหลังระยะที่ 1 ประมาณ 4 – 6 สัปดาห์ |
|
ระยะที่ 3 เชื้อเข้าไปทำลายอวัยวะภายในที่สำคัญทำให้เกิดความพิการได้ เช่น เส้นเลือดใหญ่โป่งพอง หัวใจพิการ มีอาการทางจิต ประสาท มีแผลเรื้อรังที่อวัยวะต่างๆ กระดูกผุกร่อน อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นภายหลังได้รับเชื้อแล้วประมาณ 5 – 10 ปี |
|
|
36. |
หนองใน (Gonorrhoea - GC) |
|
อาการสำคัญ |
|
ชาย ถ่ายปัสสาวะบ่อย แสบ ขัดเบา มีหนองในท่อปัสสาวะ ถ้าเป็นมากลูกอัณฑะจะบวมโตและเจ็บมาก |
|
หญิง ตกขาว ถ่ายปัสสาวะบ่อย แสบ ขัดเบา มีหนองไหลทางช่องคลอดและท่อปัสสาวะ หรืออาจไม่มีอาการ ถ้าเป็นมากปีกมดลูกจะอักเสบทำให้รู้สึกปวดท้องน้อย |
|
โรคหนองในของทวารหนัก ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ แต่อาจคัน เปียกแฉะ หรือปวดเบ่งทวารหนัก |
|
โรคหนองในในหลอดคอ ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ แต่อาจเจ็บคอ พบร่องรอยการอักเสบในคอบ้าง |
|
|
37. |
หนองในเทียม (Non – gonococcal Urethritis - NGU) ปัสสาวะแสบขัดหรือคันในท่อปัสสาวะ ท่อปัสสาวะอักเสบ อาจมีมูกใสหรือขุ่น ไหลซึมออกมา ในสตรีส่วนใหญ่ไม่มีอาการ แต่อาจจะมีตกขาวมากกว่าปกติคันบริเวณปากช่องคลอด |
|
|
38. |
กามโรคของต่อมและท่อน้ำเหลือง (Lymphogranuloma venereum) |
|
อาการสำคัญ |
|
ระยะแรก เป็นแผลตุ่มน้ำหรือตุ่มหนองขนาดเล็กที่อวัยวะสืบพันธุ์ แผลอาจจะหายไปเองไม่มีรอยแผลเป็น ผู้ชายจะเกิดแผลที่องคชาติและไม่เจ็บ ผู้หญิงเกิดรอยโรคที่ส่วนล่างของแคมเล็ก |
|
ระยะที่สอง ต่อมขาหนีบจะบวมโตเป็นก้อนแข็งและเจ็บปวดมากที่เรียกว่าฝีมะม่วงเป็นข้าง เดียวมากกว่าเป็นสองข้าง ถ้าไม่ได้รับการรักษาฝีจะแตกเป็นรูๆ ในระยะหลังลำไส้ใหญ่ตอนล่างสุดจะอักเสบและตีบตันได้ |
|
|
39. |
แผลริมอ่อน (Chancroid) เป็นตุ่มเจ็บและแตกเป็นแผลริมอ่อนที่อวัยวะสืบพันธุ์ มักมีหลายแผลขอบไม่เรียบ ก้นแผลสกปรกกดเจ็บ ปวดมาก และเลือดออกง่าย ผู้ชายมักพบที่หนังหุ้มองคชาติ เส้นสองสลึง และรอยหยักที่คอองคชาติ ถ้าไม่ได้รักษาต่อมขาหนีบจะบวมโตเจ็บปวดมาก กลายเป็นฝี เรียกฝีมะม่วง ต่อมาฝีจะแตกออกเป็นแผลใหญ่ |
|
|
40. |
แผลกามโรคเรื้อรังที่ขาหนีบ (Granuloma lnguinale) เป็นแผลเรื้อรัง แตกลึก เลือดออกง่ายที่อวัยวะสืบพันธุ์ และบริเวณใกล้เคียงบริเวณรอบๆ ทวารหนักและที่ขาหนีบ ปล่อยทิ้งไว้จะลุกลามมากยิ่งขึ้น |
|
|
41. |
โรคเริมที่อวัยวะเพศ (Genital Herpes Simplex Infection) อาการปรากฏใน 2 – 14 วัน หลังติดเชื้อมักมีอาการไข้ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ต่อมน้ำเหลืองโตบริเวณองคชาติ หรือแคมจะพบกลุ่มของตุ่มน้ำใส ที่บริเวณฐานมีการอักเสบบวมแดงต่อมาตุ่มน้ำแตกเป็นแผลตื้นๆ ภายใน 2 – 4 วัน พร้อมอาการเจ็บหรือปวดแสบปวดร้อนบริเวณแผล แผลจะหายไปเองในเวลา 7 – 10 วัน |
|
|
42. |
โรคหูดหงอนไก่ (Condyloma accuminata) มีการติดเชื้อไวรัสที่บริเวณอวัยวะเพศหรือทวารหนักทำให้เกิดติ่งเนื้อสีแดง หรือแดงคล้ำคล้ายหงอนไก่หลายขนาดกระจายทั่วไป ถ้ามีขนาดใหญ่ขึ้นจะมีลักษณะเหมือนดอกกะหล่ำ |
|
|
43. |
โรคไข้กลับซ้ำ (Relapsing fever) มีอาการไข้ 2 – 3 วัน แล้วหยุดไป 3 – 4 วัน กลับมีไข้อีก 2 – 3 วัน สลับกันเช่นนี้เรื่อยไป ไข้นี้จะกลับไปกลับมาหลายครั้ง และจะมีผื่นขึ้นทั่วร่างกายด้วย |
|
|
44. |
โรคอุจจาระร่วง (Acute diarrhea) ถ่ายอุจจาระเหลววันละ 3 ครั้งขึ้นไป หรือเป็นน้ำตั้งแต่ 1 ครั้งขึ้นไปต่อวัน อ่อนเพลีย มีเสียงแหบตาลึกโหล ผิวหนังเหี่ยวย่น อาจมีไข้ร่วมด้วย |
|
|
45. |
โรคเท้าช้าง (Filariasis, lymphatic) มี อาการไข้นำก่อน มีต่อมและท่อทางเดินน้ำเหลืองของแขน ขา อักเสบเป็นๆ หายๆ ลูกอัณฑะอักเสบ หรืออาจกลายเป็นฝีในที่สุดได้ บางรายปัสสาวะขุ่นคล้ายนม บางรายจะมีอาการซ้ำๆ อยู่เป็นเวลานาน เกิดการอุดตันของทางเดินน้ำเหลือง จนทำให้อวัยวะบวมโต เช่น แขน ขา อวัยวะเพศ หรือเต้านม เป็นต้น |
|
|
46. |
โรคเอดส์ (AIDS) มีอาการของผู้มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ซึ่งเป็นเหตุให้ติดเชื้อโรคชนิดฉวยโอกาสได้ง่าย โดยแสดงออกทางระบบทางเดินหายใจ ระบบประสาทส่วนกลาง ระบบทางเดินอาหาร ไข้ไม่ทราบสาเหตุ ร่วมกับน้ำหนักตัวลด ครั่นเนื้อครั่นตัว อ่อนเพลียมาก อาการจะค่อยเป็นค่อยไป แล้วกระจายลุกลามอย่างกว้างขวางและเป็นซ้ำบ่อยๆ อาจเป็นมะเร็งบางชนิดด้วย |
|
|
47. |
โรคอัมพาตกล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียกอย่างเฉียบพลันในเด็ก (Acute flaccid paralysis) หมายถึงโรคที่มีอาการอัมพาตกล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียกเฉียบพลันในบุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี |
|
|
48. |
โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (หรือโรคซาร์ส – Severe Acute Respiratory Syndrome) อาการเริ่มแรกเหมือนไข้หวัดใหญ่ ซึ่งจะมีไข้สูง (มากกว่า 38?เซลเซียส) อ่อนเพลีย ปวด เจ็บ กล้ามเนื้อ ปวดศีรษะและหนาวสั่น แต่ในช่วงแรกอาจจะยังไม่มีไข้ ต่อมามีอาการผิดปกติของระบบทางเดินหายใจอย่างหนึ่งหรือมากกว่า ได้แก่ ไอแห้งๆ หายใจเร็ว หายใจลำบาก ปอดอักเสบ หรือมีอาการรุนแรงจนหายใจไม่ได้ ส่วนใหญ่จะมีอาการอุจจาระร่วงเป็นน้ำปริมาณมากแต่ไม่มีมูกหรือเลือดปนด้วย และมีประวัติอย่างใดอย่างหนึ่งหรือมากกว่า ได้แก่ประวัติเดินทางไปเขตติดโรค หรือมีประวัติสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยด้วยโรค ทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง |
ให้ยกเลิก การประกาศกำหนดชื่อโรคติดต่อและอาการสำคัญ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ลงวันที่ 18 ธันวาคม 2524 วันที่ 4 กันยายน 2534 วันที่ 20 มกราคม 2541 และวันที่ 30 มีนาคม 2546
|
|
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2547 สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ |