สมัครสมาชิก
Forgot Password
ช่องทางรับข่าวสาร
more
แบบสำรวจความคิดเห็น

ท่านมีความพึงพอใจต่อเว็บไซต์สำนักโรคติดต่อทั่วไปในระดับใด?

พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2499
เป็นปีที่ 11 ในรัชกาลปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้้แทนราษฎร ดังต่อไปนี้

   

มาตรา 1

พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499"

   

มาตรา 2

พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

 

[รก.2499/78/1063/2 ตุลาคม 2499]

   

มาตรา 3

ให้ยกเลิก
 (1) พระราชบัญญัติโรคระบาดปศุสัตว์และสัตว์พาหนะ พุทธศักราช 2474
 (2) พระราชบัญญัติโรคระบาดปศุสัตว์และสัตว์พาหนะ แก้ไขเพิ่มเติมพุทธศักราช 2478 และ
 (3) พระราชบัญญัติโรคระบาดปศุสัตว์และสัตว์พาหนะ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2497
ในกรณีที่มีบทกฎหมาย กฎหรือข้อบังคับอื่นขัด หรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้บังคับแทน

   

มาตรา 4

ในพระราชบัญญัตินี้
 "สัตว์" หมายความว่า

 

 (1) ช้าง ม้า โค กระบือ ลา ล่อ แพะ แกะ สุกร สุนัข แมว กระต่าย ลิง ชะนี และ ให้หมายความรวมถึงน้ำเชื้อสำหรับผสมพันธุ์และเอ็มบริโอ (ตัวอ่อนของสัตว์ที่ยังไม่เจริญเติบโตจนถึงขั้นที่มีอวัยวะครบบริบูรณ์) ของสัตว์เหล่านี้ด้วย

 

 (2) สัตว์ปีกจำพวก นก ไก่ เป็ด ห่าน และให้หมายความรวมถึงไข่สำหรับใช้ทำพันธุ์ด้วย และ

 

 (3) สัตว์ชนิดอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

 

"ซากสัตว์" หมายความว่า ร่างกายหรือส่วนของร่างกายสัตว์ที่ตายแล้ว และยังไม่ได้แปรสภาพเป็นอาหารสุก หรือสิ่งประดิษฐ์สำเร็จรูป และให้หมายความรวมถึงงา เขา และขน ที่ได้ตัดออกจากสัตว์ขณะมีชีวิตและยังไม่ได้แปรสภาพเป็นสิ่งประดิษฐ์สำเร็จ รูปด้วย
 "โรคระบาด" หมายความว่า โรครินเดอร์เปสต์ โรคเฮโมรายิกเซพติซีเมีย โรคแอนแทรกซ์ โรคเซอร่า โรคสารติก โรคมงคล่อพิษ โรคปากและเท้าเปื่อย โรคอหิวาต์สุกร และ โรคอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
 "เจ้าของ" หมายความรวมถึงผู้ครอบครอง ในกรณีที่เกี่ยวกับสัตว์เมื่อไม่ปรากฏเจ้าของ ให้หมายความรวมถึงผู้เลี้ยงและผู้ควบคุมด้วย
 "ท่าเข้า" หมายความว่า ที่สำหรับนำสัตว์และซากสัตว์เข้าในราชอาณาจักร
 "ท่าออก" หมายความว่า ที่สำหรับนำสัตว์และซากสัตว์ออกนอกราชอาณาจักร
 "ด่านกักสัตว์" หมายความว่า ที่สำหรับกักสัตว์หรือซากสัตว์เพื่อตรวจโรคระบาด
 "การค้า" หมายความว่า การค้าในลักษณะคนกลาง
 "พนักงานเจ้าหน้าที่" หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง
 "สารวัตร" หมายความว่า สารวัตรของกรมปศุสัตว์ หรือผู้ซึ่งอธิบดีแต่งตั้ง
 "นายทะเบียน" หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นนายทะเบียน
 "สัตวแพทย์" หมายความว่า สัตวแพทย์ของกรมปศุสัตว์ หรือผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง
 "อธิบดี" หมายความว่า อธิบดีกรมปศุสัตว์
 "รัฐมนตรี" หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

   

มาตรา 5

พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับ ในกรณีเกี่ยวกับสัตว์ของกระทรวงกลาโหม และส่วนราชการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

   

มาตรา 6

สำหรับสุนัข แมว กระต่าย ลิง ชะนี รวมถึงน้ำเชื้อสำหรับผสมพันธุ์สัตว์เหล่านี้ และสัตว์ปีกจำพวก นก ไก่ เป็ด ห่าน รวมถึงไข่สำหรับใช้ทำพันธุ์ ให้พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเฉพาะการนำเข้า นำออก หรือนำผ่านราชอาณาจักร หรือการอย่างอื่น ตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา

   

มาตรา 7

ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวง เกษตรรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ นายทะเบียน และสัตวแพทย์ และออกกฎกระทรวงวางระเบียบ การขอและการออกใบอนุญาต กำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้ หรือยกเว้นค่าธรรมเนียมเฉพาะกรณี และกำหนดการอื่น ๆ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

 

หมวด 1   การป้องกันโรคระบาด

 

มาตรา 8

ในท้องที่ที่ยังมิได้ ประกาศเป็นเขตปลอดโรคระบาดตามหมวด 2 หรือ ในท้องที่ที่ยังมิได้ประกาศเป็นเขตโรคระบาด เขตสงสัยว่ามีโรคระบาด หรือเขตโรคระบาดชั่วคราวตามหมวด 3 ถ้ามีสัตว์ป่วยหรือตายโดยรู้ว่าเป็นโรคระบาด หรือมีสัตว์ป่วยหรือตายโดยปัจจุบัน อันไม่อาจคิดเห็นได้ว่าป่วยหรือตายโดยเหตุใด หรือในหมู่บ้านเดียวกัน หรือในบริเวณใกล้เคียงกัน มีสัตว์ตั้งแต่สองตัวขึ้นไปป่วยหรือตาย มีอาการคล้ายคลึงกันในระยะเวลาห่างกันไม่เกินเจ็ดวัน ให้เจ้าของแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่สารวัตร หรือสัตวแพทย์ท้องที่ภายในเวลายี่สิบสี่ชั่วโมง นับแต่เวลาที่สัตว์ป่วยหรือตาย
ในกรณีที่สัตว์ป่วยตามวรรคก่อน ให้เจ้าของควบคุมสัตว์ป่วยทั้งหมดไว้ภายในบริเวณที่สัตว์อยู่ และห้ามมิให้เจ้าของหรือบุคคลอื่นใดเคลื่อนย้ายสัตว์ป่วยไปจากบริเวณนั้น ในกรณีที่สัตว์ตายตามวรรคก่อนให้เจ้าของควบคุมซากสัตว์นั้นให้คงอยู่ ณ ที่ที่สัตว์นั้นตาย และห้ามมิให้เจ้าของหรือบุคคลอื่นใดเคลื่อนย้าย ชำแหละ หรือกระทำอย่างใดแก่ซากสัตว์นั้น ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่สารวัตร หรือสัตวแพทย์ไม่อาจมาตรวจซากสัตว์นั้นภายในเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลา ที่สัตว์นั้นตาย ให้เจ้าของฝังซากสัตว์นั้นใต้ระดับผิวดินไม่น้อยกว่าห้าสิบเซนติเมตร สำหรับซากสัตว์ใหญ่ให้พูนดินกลบหลุมเหนือระดับผิวดินไม่น้อยกว่าห้าสิบ เซนติเมตรอีกด้วย

   

มาตรา 9

เมื่อได้มีการแจ้งตาม มาตรา 8 หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีสัตว์ป่วย หรือตายโดยโรคระบาด ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือสารวัตรมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าของจัดการดังต่อไปนี้

 

 (1) ให้กักขัง แยก หรือย้ายสัตว์ป่วย หรือสงสัยว่าป่วยไว้ภายในเขตและตามวิธีการที่กำหนดให้ 

 

 (2) ให้ฝัง หรือเผาซากสัตว์นั้น ณ ที่ที่กำหนดให้ ถ้าการฝังหรือเผาไม่อาจทำได้ ให้สั่งทำลายโดยวิธีอื่นตามที่เห็นสมควร หรือ

 

 (3) ให้กักขัง แยก หรือย้ายสัตว์ที่อยู่ร่วมฝูง หรือเคยอยู่ร่วมฝูงกับสัตว์ที่ป่วย หรือ สงสัยว่าป่วยหรือตายไว้ภายในเขต และตามวิธีการที่กำหนดให้

   

มาตรา 10

เมื่อได้มีการแจ้ง ตาม มาตรา 8 หรือตรวจพบ หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าสัตว์ป่วยหรือตายโดยโรคระบาด ให้สัตวแพทย์มีอำนาจเข้าตรวจสัตว์หรือซากสัตว์นั้น และให้มี อำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าของจัดการดังต่อไปนี้

 

 (1) ให้กักขัง แยก หรือย้ายสัตว์ป่วย หรือสงสัยว่าป่วยไว้ภายในเขต และตามวิธีการที่กำหนดให้ หรือให้ได้รับการรักษาตามที่เห็นสมควร
 (2) ให้ฝัง หรือเผาซากสัตว์นั้นทั้งหมด หรือแต่บางส่วน ณ ที่ที่กำหนดให้ ถ้าการฝังหรือเผาไม่อาจทำได้ ก็ให้ทำลายโดยวิธีอื่นตามที่เห็นสมควร
 (3) ให้กักขัง แยก หรือย้ายสัตว์ที่อยู่ร่วมฝูง หรือเคยอยู่ร่วมฝูงกับสัตว์ที่ป่วย หรือสงสัยว่าป่วย หรือตายไว้ภายในเขต และตามวิธีการที่กำหนดให้ หรือให้ได้รับการป้องกันโรคระบาดตามที่เห็นสมควร
 (4) ให้ทำลายสัตว์ที่เป็นโรคระบาด หรือสัตว์ หรือซากสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคระบาด ตามระเบียบที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี ในการนี้ให้เจ้าของได้รับค่าชดใช้ตาม ที่กำหนดในกฎกระทรวงไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่งของราคาสัตว์ซึ่งอาจขายได้ในตลาด ท้องที่ก่อนเกิดโรคระบาด เว้นแต่ในกรณีที่เจ้าของได้จงใจกระทำความผิดต่อบทแห่งพระราชบัญญัตินี้
 (5) ให้กำจัดเชื้อโรคที่อาหารสัตว์ หรือซากสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคระบาด ตามวิธีการที่กำหนดให้ หรือ
 (6) ให้ทำความสะอาด และทำลายเชื้อโรคระบาด หรือพาหะของโรคระบาดในที่ดิน อาคาร ยานพาหนะ หรือสิ่งของตามวิธีการที่กำหนดให้

 

หมวด 2    เขตปลอดโรคระบาด

 

มาตรา 11

เมื่อรัฐมนตรีเห็นสมควร เพื่อป้องกันมิให้เกิดโรคระบาดสำหรับสัตว์ชนิดใดในท้องที่ใด ก็ให้มีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดท้องที่นั้นทั้งหมด หรือแต่บางส่วนเป็นเขตปลอดโรคระบาด ประกาศนี้ให้ระบุชนิดของสัตว์และโรคระบาดไว้ด้วย

   

มาตรา 12

เมื่อได้ประกาศเขตปลอดโรค ระบาดตามมาตรา 11 แล้วห้ามมิให้ผู้ใดเคลื่อนย้ายสัตว์หรือซากสัตว์เข้าใน หรือผ่านเขตนั้น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดี หรือสัตวแพทย์ซึ่งอธิบดีมอบหมาย

   

มาตรา 13

ภายในเขตปลอดโรคระบาด ให้เจ้าของสัตว์มีหน้าที่ปฏิบัติการตามมาตรา 8 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่และสารวัตรมีอำนาจตามมาตรา 9 และให้สัตวแพทย์มีอำนาจตามมาตรา 10 และมาตรา 18

   

มาตรา 14

ภายในเขตปลอดโรคระบาด ถ้าปรากฏว่ามีโรคระบาดหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีโรคระบาด ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือสัตวแพทย์จะประกาศเขตโรคระบาด เขตสงสัยว่ามีโรคระบาดหรือเขตโรคระบาดชั่วคราว แล้วแต่กรณีตามหมวด 3 ก็ได้

 

หมวด 3    เขตโรคระบาด

 

มาตรา 15

ในเขตท้องที่ จังหวัดใดมีหรือสงสัยว่ามีโรคระบาด ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดนั้น มีอำนาจประกาศกำหนดเขตท้องที่จังหวัดนั้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วนเป็นเขตโรคระ บาด หรือเขตสงสัยว่ามีโรคระบาด แล้วแต่กรณี ประกาศนี้ให้ระบุชนิดของสัตว์และโรคระบาดไว้ด้วย และให้ปิดไว้ ณ ศาลากลางจังหวัด ที่ว่าการอำเภอ บ้านกำนัน บ้านผู้ใหญ่บ้าน และที่ชุมนุมชนภายในเขตนั้น

  

 

มาตรา 16

ในกรณีที่สัตวแพทย์เห็น ว่า โรคระบาดที่ตรวจพบในท้องที่ของตน หรือท้องที่อื่นที่ติดต่อกับท้องที่ของตนจะระบาดออกไป ให้สัตวแพทย์มีอำนาจประกาศเป็นหนังสือกำหนดเขตโรคระบาดชั่วคราวมีรัศมีไม่ เกินห้ากิโลเมตรจากที่ที่ตรวจพบโรคระบาดนั้น ประกาศนี้ให้ระบุชนิดของสัตว์และโรคระบาดไว้ด้วย และให้ปิดไว้ ณ บ้านกำนัน บ้านผู้ใหญ่บ้าน และที่ชุมนุมชนภายในเขตนั้น และให้ใช้บังคับได้สามสิบวันนับแต่วันประกาศ

 

 

มาตรา 17 

เมื่อได้มีประกาศกำหนดเขต โรคระบาด หรือเขตสงสัยว่ามีโรคระบาดตามมาตรา 15 หรือประกาศกำหนดเขตโรคระบาดชั่วคราวตามมาตรา 16 แล้ว ห้ามมิให้ผู้ใดเคลื่อนย้ายสัตว์ หรือซากสัตว์ภายในเขตนั้น หรือเคลื่อนย้ายสัตว์ หรือซากสัตว์ เข้าในหรือออกนอกเขตนั้น เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากสัตวแพทย์

 

 

มาตรา 18

ภายในเขตโรคระบาด หรือเขตสงสัยว่ามีโรคระบาดตามมาตรา 15 หรือเขตโรคระบาดชั่วคราวตามมาตรา 16 ให้สัตวแพทย์มีอำนาจตามมาตรา 10 และให้มีอำนาจดังต่อไปนี้อีกด้วย คือ
 (1) ออกประกาศหรือสั่งเป็นหนังสือให้บรรดาเจ้าของแจ้งจำนวนสัตว์บางชนิด และถ้าเห็นสมควรจะให้นำสัตว์นั้นมาให้ได้รับการตรวจ หรือป้องกันโรคระบาดก็ได้
 (2) สั่งให้เจ้าของสัตว์ที่ได้ผ่านการตรวจ หรือป้องกันโรคระบาดแล้วนำสัตว์นั้นมาประทับเครื่องหมายที่ตัวสัตว์ หรือ
 (3) สั่งกักยานพาหนะที่บรรทุกสัตว์หรือซากสัตว์เพื่อตรวจโรคระบาด และถ้าเห็นสมควรจะสั่งกักสัตว์หรือซากสัตว์นั้นเพื่อคุมไว้สังเกตตามความจำ เป็นก็ได้

 

 

มาตรา 19

ภายในเขตโรคระบาด หรือเขตสงสัยว่ามีโรคระบาดตามมาตรา 15 หรือเขตโรคระบาดชั่วคราวตามมาตรา 16 ถ้ามีสัตว์ป่วยหรือตายให้เจ้าของแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ สารวัตร หรือสัตวแพทย์ ภายในเวลาสิบสองชั่วโมงนับแต่เวลาที่สัตว์ป่วยหรือตาย และ ให้นำความในมาตรา 8 วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม

 

 

มาตรา 20

ในเขตท้องที่ จังหวัดใด ซึ่งได้ประกาศเป็นเขตโรคระบาดหรือเขตสงสัยว่ามีโรคระบาด ถ้าปรากฏว่าโรคระบาดนั้นได้สงบลงหรือปรากฏว่าไม่มีโรคระบาดโดยเด็ดขาด แล้วแต่กรณี ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดถอนประกาศเช่นว่านั้นเสีย

 

หมวด 4    การควบคุมการค้าสัตว์และซากสัตว์

 

มาตรา 21

ห้ามมิให้บุคคลใดทำการค้า ช้าง ม้า โค กระบือ แพะ แกะ สุกร หรือสัตว์ชนิดอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง หรือทำการค้าซากสัตว์ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน

   
มาตรา 21 ทวิ

ห้ามมิให้บุคคลใดขาย จำหน่าย จ่าย แจก แลกเปลี่ยน หรือมีไว้ เพื่อขายซึ่งน้ำเชื้อสำหรับผสมพันธุ์หรือเอ็มบริโอของม้า โค กระบือ แพะ แกะ สุกร หรือสัตว์ชนิดอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน
การขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

 

 

มาตรา 22

ใบอนุญาตตามมาตรา 21 หรือ มาตรา 21ทวิ ให้ใช้ได้จนถึง วันสิ้นปีปฏิทินแห่งปีที่ออก

 

 

มาตรา 23

ผู้ทำการค้าสัตว์หรือซากสัตว์ ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต

   
มาตรา 24 ในกรณีที่ผู้รับใบอนุญาต ตามมาตรา 21 หรือมาตรา 21 ทวิ ฝ่าฝืนต่อบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตให้สัตวแพทย์มีอำนาจยึดใบอนุญาตของผู้ นั้นไว้เพื่อเสนอนายทะเบียน ถ้านายทะเบียนเห็นสมควรจะสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตนั้นเสียก็ได้
ผู้ ถูกยึด พักใช้ หรือเพิกถอนใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง มีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรี หรือผู้ที่รัฐมนตรีมอบหมายภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ถูกยึด พักใช้ หรือเพิกถอนใบอนุญาต แล้วแต่กรณี
คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีหรือผู้ที่รัฐมนตรีมอบหมายให้เป็นที่สุด

 

หมวด 5    เบ็ดเตล็ด

 

มาตรา 25

ถ้ามีสัตว์ที่ไม่ปรากฏ เจ้าของป่วย หรือตายในที่ดินของบุคคลใด ให้เจ้าของที่ดินนั้นมีหน้าที่ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้เช่นเดียวกับ เจ้าของสัตว์นั้น และเมื่อปรากฏ เจ้าของสัตว์ในภายหลังเจ้าของที่ดินมีสิทธิเรียกร้องค่าใช้จ่ายเท่าที่จ่าย จริงจากเจ้าของสัตว์ได้

 

 

มาตรา 26

ถ้ามีสัตว์ที่ไม่ปรากฏ เจ้าของป่วย หรือตายโดยโรคระบาดในที่สาธารณะหรือที่ดินไม่ปรากฏเจ้าของ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สารวัตร หรือสัตวแพทย์มีอำนาจกักสัตว์หรือซากสัตว์นั้นไว้ ณ ที่ที่เห็นสมควรภายในบริเวณที่นั้นได้ สำหรับซากสัตว์นั้นเมื่อเห็นสมควรจะฝังเสียก็ได้ ในกรณีจำเป็นเพื่อป้องกันมิให้โรคระบาดแพร่หลาย สัตวแพทย์จะทำลายสัตว์หรือซากสัตว์ หรือฝังซากสัตว์นั้นภายในบริเวณที่นั้นก็ได้
เมื่อปรากฏเจ้าของในภายหลัง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ สารวัตรหรือสัตวแพทย์มีสิทธิเรียกร้องค่าใช้จ่ายเท่าที่จ่ายจริงจากเจ้าของสัตว์ได้

 

 

มาตรา 27 

สำหรับสัตว์ที่เจ้าของนำ ไปมา หรือขนส่งโดยยานพาหนะ หากปรากฏว่าเป็นโรคระบาดหรือเป็นพาหะของโรคระบาด หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคระบาดหรือเป็นพาหะของโรคระบาด ให้สัตวแพทย์มีอำนาจสั่งกักสัตว์นั้นไว้ ณ ที่ที่เห็นสมควรตามความจำเป็นได้
ค่าใช้จ่ายในการนี้ให้เจ้าของสัตว์เป็นผู้ออก

 

 

มาตรา 28 

ห้ามมิให้บุคคลใดขุดซากสัตว์ที่ฝังไว้แล้ว ตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากสัตวแพทย์

 

 

มาตรา 29 

เมื่อปรากฏว่ามีโรคระบาด หรือพาหะของโรคระบาด หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีโรคระบาด หรือพาหะของโรคระบาดในยานพาหนะ อาคาร หรือสถานที่อื่นใด ให้สัตวแพทย์มีอำนาจเรียกตรวจยานพาหนะ หรือเข้าไปในอาคาร หรือสถานที่นั้น และให้เจ้าของยานพาหนะ อาคารหรือสถานที่นั้น ให้ความสะดวกแก่สัตวแพทย์ตามสมควร
การเข้าไปในอาคาร หรือสถานที่ตามวรรคก่อน ให้กระทำได้ระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก

 

 

มาตรา 30

ให้รัฐมนตรีมีอำนาจประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา
 (1) กำหนดท่าเข้าและท่าออก
 (2) ห้ามการนำเข้า หรือนำผ่านราชอาณาจักรซึ่งสัตว์ หรือซากสัตว์จากท้องที่ภายนอกราชอาณาจักร ในกรณีปรากฏว่าท้องที่นั้นมีหรือสงสัยว่ามีโรคระบาด และ
 (3) วางระเบียบการยึด ทำลาย หรือส่งกลับซึ่งสัตว์ หรือซากสัตว์โดยไม่มีค่าชดใช้ ในกรณี
      ก. นำเข้า หรือนำผ่านราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนต่อบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ หรือ
      ข. นำเข้า หรือนำผ่านราชอาณาจักรโดยถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ เมื่อสัตว์นั้นเป็นโรคระบาด หรือสัตว์ หรือซากสัตว์นั้นเป็นพาหะของโรคระบาดในขณะนั้น หรือภายหลังนำเข้า หรือนำผ่านราชอาณาจักร

 

 

มาตรา 31

ห้ามมิให้บุคคลใดนำเข้า นำออกหรือนำผ่านราชอาณาจักร ซึ่งสัตว์หรือซากสัตว์ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากอธิบดี หรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย
อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย จะกำหนดเงื่อนไขตามที่เห็นสมควรไว้ในใบอนุญาตก็ได้
การ นำเข้า นำออก หรือนำผ่านราชอาณาจักร ซึ่งสัตว์หรือซากสัตว์ตามมาตรานี้ ให้นำเข้า นำออก หรือนำผ่าน ท่าเข้าหรือท่าออก แล้วแต่กรณี เว้นแต่อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายจะสั่งเป็นอย่างอื่น

 

 

มาตรา 32

ผู้ใดนำเข้า นำออก หรือนำผ่านราชอาณาจักร ซึ่งสัตว์หรือซากสัตว์ ต้องปฏิบัติการตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

 

 

มาตรา 33 

ให้อธิบดีมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(1) แต่งตั้งสารวัตรเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
(2) กำหนดด่านกักสัตว์และสถานีขนส่งสัตว์
(3) วางระเบียบการทำลายสัตว์ที่เป็นโรคระบาด หรือการทำลายสัตว์หรือซากสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคระบาด และ
(4) วางระเบียบการตรวจโรคและทำลายเชื้อโรคจากสัตว์หรือซากสัตว์ที่มีการนำเข้า นำออก หรือนำผ่านราชอาณาจักร หรือเคลื่อนย้ายภายในราชอาณาจักร

 

 

มาตรา 34

ผูู้้ใดนำช้าง ม้า โค กระบือ แพะ แกะ สุกร หรือน้ำเชื้อสำหรับผสมพันธุ์หรือเอ็มบริโอของสัตว์เหล่านี้ หรือสัตว์ชนิดอื่นตามที่กำหนดในกฏกระทรวงหรือซากสัตว์ตามที่กำหนดใน กฏกระทรวง ไปยังท้องที่ต่างจังหวัด ต้องได้รับอนุญาตจากสัตวแพทย์ประจำท้องที่
ในการออกใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง สัตวแพทย์จะกำหนดเงื่อนไขตามที่จำเป็นไว้ในใบอนุญาตเกี่ยวกับการใช้เส้นทาง และยานพาหนะในการนำสัตว์ไปและสถานีขนส่งสัตว์และการผ่านด่านกักสัตว์ตาม ระเบียบที่อธิบดีกำหนดก็ได้ เว้นแต่เป็นการนำสัตว์ไปเลี้ยงหรือใช้งานชั่วคราว

 

 

มาตรา 35

ผููู้้ใดนำสัตว์ผ่่านด่านกักสัตว์ ต้องปฏิบัติการตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

 

 

มาตรา 36 

ผูู้ใดส่งสัตว์ หรือซากสัตว์ไปจำหน่ายต่างประเทศ ต้องปฏิบัติการตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

 

 

มาตรา 37 

ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บ เฉพาะค่าที่พักสัตว์หรือซากสัตว์ที่ส่งไปต่างประเทศ ให้กันไว้เป็นทุนเพื่อใช้จ่ายในการควบคุมการส่งสัตว์หรือซากสัตว์ไปจำหน่าย ต่างประเทศเป็นจำนวนร้อยละห้าสิบของเงินที่เก็บได้ทั้งสิ้น เหลือเท่าใดให้นำส่งเป็นรายได้ของแผ่่นดิน

 

 

มาตรา 38

ให้สารวัตรมีอำนาจจับกุม ผูู้้กระทำผิดต่อบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจยึดสัตว์ ซากสัตว์ หรือสิ่งของใด ๆ ที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ไว้เพื่อส่งพนักงานสอบสวน ดำเนินการต่อไปตามกฏหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญา หรือเพื่อดำเนินการตามมาตรา 51

 

หมวด 6    บทกำหนดโทษ

 

มาตรา 39

ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 8 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท

 

 

มาตรา 40

ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 8 วรรคสองหรือฝ่าฝืนคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือสารวัตร ตามมาตรา 9 หรือฝ่าฝืนมาตรา 19 หรือเจ้าของยานพาหนะ อาคารหรือสถานที่ ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกให้แก่สัตวแพทย์ตามสมควร ตามมาตรา 29 วรรคหนึ่ง ต้อง ระวางโทษจำคุกไม่เกินสองเดือน หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 

 

 

มาตรา 41

ผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่ง สัตวแพทย์ตามมาตรา 10 หรือมาตรา 18 หรือฝ่าฝืนมาตรา 23 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 

 

 

มาตรา 42

ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 12 มาตรา 17 มาตรา 21 มาตรา 21ทวิ หรือ มาตรา 28 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 

 

 

มาตรา 43

ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 13  

 

ในกรณีไม่ปฏิบัติการตามมาตรา 8 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 39
ใน กรณีไม่ปฏิบัติการตามมาตรา 8 วรรคสอง หรือฝ่าฝืนคำสั่งพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือสารวัตรตามมาตรา 9 ต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 40
ในกรณีฝ่าฝืนคำสั่งสัตวแพทย์ตามมาตรา 10 หรือมาตรา 18 ต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 41 

 

 

มาตรา 44 

เจ้าของที่ดินผู้ใดไม่ปฏิบัติการตามหน้าที่ตามที่ระบุไว้ใน มาตรา 25 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท 

 

 

มาตรา 45

(ถูกยกเลิกทั้งหมด โดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542])

 

 

มาตรา 46

ผู้ใดฝ่าฝืนประกาศของรัฐมนตรีตามมาตรา 30 (2) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ  

 

 

มาตรา 47

ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 31 วรรคหนึ่งหรือวรรคสาม หรือฝ่าฝืนเงื่อนไข ที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตตามมาตรา 31 วรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 

 

 

มาตรา 48

ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 32 มาตรา 35 หรือมาตรา 36 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองเดือน หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 

 

 

มาตรา 49

ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 34 วรรคหนึ่ง หรือฝ่าฝืนเงื่อนไขที่กำหนดไว้ ในใบอนุญาตตามมาตรา 34 วรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกิน หนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 

 

 

มาตรา 50 

ผู้ใดใช้เครื่องหมายปลอม หรือแปลงประทับที่ตัวสัตว์เปลี่ยนแปลงหรือ แก้ไขเครื่องหมายรอยประทับที่ตัวสัตว์ เพื่อให้เข้าใจว่าเป็นเครื่องหมายของเจ้าพนักงาน หรือทำลาย หรือแก้ไขเครื่องหมายใด ๆ ที่เจ้าพนักงานทำไว้แก่ซากสัตว์ หรือภาชนะ หรือสิ่งห่อหุ้มซากสัตว์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 

 

 

มาตรา 51 

บรรดาความผิดตามพระราช บัญญัตินี้ที่มีโทษปรับสถานเดียว ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอำนาจเปรียบเทียบได้ และเมื่อผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามจำนวนที่เปรียบเทียบภายในระยะเวลาที่ กำหนดแล้ว ให้คดีนั้นเป็นอันเลิกกัน 

 

 

มาตรา 52

ให้อธิบดีมีอำนาจสั่งจ่ายเงินสินบนและรางวัลตามระเบียบที่อธิบดี กำหนดโดยความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง

 

   
 

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

 จอมพล ป.พิบูลสงคราม
       นายกรัฐมนตรี

 

 

 

 

หมายเหตุ:- 

เหตุผล ในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติโรคระบาดปศุสัตว์และสัตว์พาหนะเท่าที่ใช้อยู่ในเวลา นี้มีหลายฉบับด้วยกัน ไม่สะดวกแก่การปฏิบัิติงานของเจ้าหน้าที่และเป็นการยากแก่ราษฎรที่จะต้อง ปฏิบัติตามกฏหมาย จึงเห็นสมควรรวบรวมไว้ในฉบับเดียวกันให้เหมาะสมและสอดคล้องแก่เหตุการณ์และ วิวัฒนาการของประเทศในปัจจุบันนี้

   
  ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 73 ตอนที่ 78 หน้า 1063-1089 วันที่ 2 ตุลาคม 2499 

 

 ลำดับ

 รายการ

 

 บาท

 หมายเหตุ

 

 1

ใบอนุญาตให้นำสัตว์เข้าในราชอาณาจักร

 

 

 

 

 ช้าง

 เชือกละ

 250

 

 

 ม้า โค กระบือ ลา ล่อ สุนัข แมว ลิง ชะนี

 ตัวละ

 100

 

 

 แพะ แกะ สุกร กระต่าย

 ตัวละ 

 50

 

 

 นกกระจอกเทศ นกอีมู

 ตัวละ

 200

 

 

 ไก่ เป็ด ห่าน และสัตว์ปีกชนิดอื่น

 ตัวละ

 5

 

 

 สัตว์ชนิดอื่น

 ตัวละ

 100

 

 

 น้ำเชื้อสำหรับผสมพันธุ์

 โด๊สละ

 10

 

 

 เอ็มบริโอ

 ตัวละ

 100

 

 

 ไข่นกกระจอกเทศ ไข่นกอีมู สำหรับใช้ทำพันธุ์

 ฟองละ

 50

 

 

 ไข่สัตว์ปีกชนิดอื่นสำหรับใช้ทำพันธุ์ 

 ฟองละ

 50

 

 

 

 

 

 

 2

ใบอนุญาตให้นำสัตว์ออกนอกราชอาณาจักร

 

 

 

 

 ช้าง

 เชือกละ 

 50,000

 

 

 ม้า โค กระบือ ลา ล่อ สุนัข แมว ลิง ชะนี  

 ตัวละ 

 50

 

 

 แพะ แกะ สุกร    

 ตัวละ

 25 

 

 

 กระต่าย

 ตัวละ  

 10 

 

 

 สัตว์ชนิดอื่น 

 ตัวละ

 500

 

 

 

 

 

 

 3

ใบอนุญาตให้นำสัตว์ผ่านราชอาณาจักร  

 

 

 

 

 ช้าง 

 เชือกละ

 2,000

 

 

 ม้า โค กระบือ ลา ล่อ

 ตัวละ

 100

 

 

 แพะ แกะ สุกร สุนัข ลิง ชะนี

 ตัวละ

 50

 

 

 แมว กระต่าย

 ตัวละ

 20

 

 

 สัตว์ชนิดอื่น 

 ตัวละ  

 100

 

 

 น้ำเชื้อสำหรับผสมพันธุ์

 โด้สละ

 5

 

 

 เอ็มบริโอ

 ตัวละ  

 20

 

 

 ไข่นกกระจอกเทศ ไข่นกอีมูสำหรับใช้ทำพันธุ์

 ฟองละ

 50

 

 

 ไข่สัตว์ปีกชนิดอื่นสำหรับใช้ทำพันธุ์   

 ฟองละ

 50

 

 

 

 

 

 

 4 

ใบอนุญาตให้นำซากสัตว์เข้าในราชอาณาจักร   

 กิโลกรัมละ

 20

 *

 

 

 

 

 

 5

ใบอนุญาตให้นำซากสัตว์ออกนอกราชอาณาจักร

 กิโลกรัมละ

 1

 *

 

 

 

 

 

 6

ใบอนุญาตให้นำซากสัตว์ผ่านราชอาณาจักร

 กิโลกรัมละ 

 1

 

 

 

 

 

 

 7

ใบอนุญาตให้ทำการค้าช้าง ม้า โค กระบือ แพะ แกะ สุกร และสัตว์ชนิดอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

 

 

 

 

 (1) ส่งไปต่างประเทศ

 ฉบับละ 

 2,000

 

 

 (2) ทั่วราชอาณาจักร 

 ฉบับละ

 400

 

 

 (3) ภายในจังหวัด

 ฉบับละ

 100

 

 

 

 

 

 

 8

ใบอนุญาตให้ขายน้ำเชื้อ สำหรับผสมพันธุ์ หรือเอ็มบริโอ

 

 

 

 

 (1) ส่งไปต่างประเทศ  

 ฉบับละ

 800

 

 

 (2) ทั่วราชอาณาจักร

 ฉบับละ

200

 

 

 

 

 

 

 9

ใบอนุญาตให้ทำการค้าซากสัตว์  

 

 

 

 

 (1) ส่งไปต่างประเทศ

 ฉบับละ

 400

 

 

 (2) ทั่วราชอาณาจักร  

 ฉบับละ

 100

 

 

 (3) ภายในจังหวัด

 ฉบับละ

 20

 

 

 

 

 

 

 10

ใบแทนใบอนุญาตให้ทำการค้าสัตว์ 

 

 

 

 

ใบอนุญาตให้ขายน้ำเชื้อสำหรับผสมพันธุ์

 

 

 

 

หรือเอ็มบริโอ หรือใบอนุญาตให้ทำการค้าซากสัตว์ 

 ฉบับละ

 20

 

 

 

 

 

 

 11

ค่าทำลายเชื้อโรคผ่านด่านกักสัตว์ 

 ตัวละ

 50

 

 

 

 

 

 

 12

ค่าที่พักสัตว์ที่ส่งไปต่างประเทศ

 

 

 

 

 โค กระบือ

ตัวละ 

 50

 

 

 สุกร

ตัวละ

 30

 

 

 แพะ แกะ

ตัวละ 

 20

 

 

 

 

 

 

 13

ค่าที่พักซากสัตว์ที่ส่งไปต่างประเทศ

 

 

 **

 

 ซากโค กระบือ สุกร

กิโลกรัมละ

 2

 

 

 แพะ แกะ   

กิโลกรัมละ

 1

 

...........

 

....................

 

 ...........................................

 

 หมายเหตุ

 

 *

ค่าธรรมเนียมลำดับ ที่ 4 ที่ 5 และ ที่ 6 ถ้าเศษของ 1 กิโลกรัม ตั้งแต่ 500 กรัมขึ้นไปคิดเป็น 1 กิโลกรัม ถ้าไม่ถึง 500 กรัมให้ปัดทิ้ง 

 **

ถ้าเศษของ 1 กิโลกรัม ตั้งแต่ 500 กรัมขึ้นไปคิดเป็น 1 กิโลกรัม ถ้าไม่ถึง 500 กรัมให้ปัดทิ้ง 

Download ( pdf file)

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2499
เป็นปีที่ 11 ในรัชกาลปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้้แทนราษฎร ดังต่อไปนี้

   

มาตรา 1

พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499"

   

มาตรา 2

พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

 

[รก.2499/78/1063/2 ตุลาคม 2499]

   

มาตรา 3

ให้ยกเลิก
 (1) พระราชบัญญัติโรคระบาดปศุสัตว์และสัตว์พาหนะ พุทธศักราช 2474
 (2) พระราชบัญญัติโรคระบาดปศุสัตว์และสัตว์พาหนะ แก้ไขเพิ่มเติมพุทธศักราช 2478 และ
 (3) พระราชบัญญัติโรคระบาดปศุสัตว์และสัตว์พาหนะ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2497
ในกรณีที่มีบทกฎหมาย กฎหรือข้อบังคับอื่นขัด หรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้บังคับแทน

   

มาตรา 4

ในพระราชบัญญัตินี้
 "สัตว์" หมายความว่า

 

 (1) ช้าง ม้า โค กระบือ ลา ล่อ แพะ แกะ สุกร สุนัข แมว กระต่าย ลิง ชะนี และ ให้หมายความรวมถึงน้ำเชื้อสำหรับผสมพันธุ์และเอ็มบริโอ (ตัวอ่อนของสัตว์ที่ยังไม่เจริญเติบโตจนถึงขั้นที่มีอวัยวะครบบริบูรณ์) ของสัตว์เหล่านี้ด้วย

 

 (2) สัตว์ปีกจำพวก นก ไก่ เป็ด ห่าน และให้หมายความรวมถึงไข่สำหรับใช้ทำพันธุ์ด้วย และ

 

 (3) สัตว์ชนิดอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

 

"ซากสัตว์" หมายความว่า ร่างกายหรือส่วนของร่างกายสัตว์ที่ตายแล้ว และยังไม่ได้แปรสภาพเป็นอาหารสุก หรือสิ่งประดิษฐ์สำเร็จรูป และให้หมายความรวมถึงงา เขา และขน ที่ได้ตัดออกจากสัตว์ขณะมีชีวิตและยังไม่ได้แปรสภาพเป็นสิ่งประดิษฐ์สำเร็จ รูปด้วย
 "โรคระบาด" หมายความว่า โรครินเดอร์เปสต์ โรคเฮโมรายิกเซพติซีเมีย โรคแอนแทรกซ์ โรคเซอร่า โรคสารติก โรคมงคล่อพิษ โรคปากและเท้าเปื่อย โรคอหิวาต์สุกร และ โรคอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
 "เจ้าของ" หมายความรวมถึงผู้ครอบครอง ในกรณีที่เกี่ยวกับสัตว์เมื่อไม่ปรากฏเจ้าของ ให้หมายความรวมถึงผู้เลี้ยงและผู้ควบคุมด้วย
 "ท่าเข้า" หมายความว่า ที่สำหรับนำสัตว์และซากสัตว์เข้าในราชอาณาจักร
 "ท่าออก" หมายความว่า ที่สำหรับนำสัตว์และซากสัตว์ออกนอกราชอาณาจักร
 "ด่านกักสัตว์" หมายความว่า ที่สำหรับกักสัตว์หรือซากสัตว์เพื่อตรวจโรคระบาด
 "การค้า" หมายความว่า การค้าในลักษณะคนกลาง
 "พนักงานเจ้าหน้าที่" หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง
 "สารวัตร" หมายความว่า สารวัตรของกรมปศุสัตว์ หรือผู้ซึ่งอธิบดีแต่งตั้ง
 "นายทะเบียน" หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นนายทะเบียน
 "สัตวแพทย์" หมายความว่า สัตวแพทย์ของกรมปศุสัตว์ หรือผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง
 "อธิบดี" หมายความว่า อธิบดีกรมปศุสัตว์
 "รัฐมนตรี" หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

   

มาตรา 5

พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับ ในกรณีเกี่ยวกับสัตว์ของกระทรวงกลาโหม และส่วนราชการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

   

มาตรา 6

สำหรับสุนัข แมว กระต่าย ลิง ชะนี รวมถึงน้ำเชื้อสำหรับผสมพันธุ์สัตว์เหล่านี้ และสัตว์ปีกจำพวก นก ไก่ เป็ด ห่าน รวมถึงไข่สำหรับใช้ทำพันธุ์ ให้พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเฉพาะการนำเข้า นำออก หรือนำผ่านราชอาณาจักร หรือการอย่างอื่น ตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา

   

มาตรา 7

ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวง เกษตรรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ นายทะเบียน และสัตวแพทย์ และออกกฎกระทรวงวางระเบียบ การขอและการออกใบอนุญาต กำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้ หรือยกเว้นค่าธรรมเนียมเฉพาะกรณี และกำหนดการอื่น ๆ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

 

หมวด 1   การป้องกันโรคระบาด

 

มาตรา 8

ในท้องที่ที่ยังมิได้ ประกาศเป็นเขตปลอดโรคระบาดตามหมวด 2 หรือ ในท้องที่ที่ยังมิได้ประกาศเป็นเขตโรคระบาด เขตสงสัยว่ามีโรคระบาด หรือเขตโรคระบาดชั่วคราวตามหมวด 3 ถ้ามีสัตว์ป่วยหรือตายโดยรู้ว่าเป็นโรคระบาด หรือมีสัตว์ป่วยหรือตายโดยปัจจุบัน อันไม่อาจคิดเห็นได้ว่าป่วยหรือตายโดยเหตุใด หรือในหมู่บ้านเดียวกัน หรือในบริเวณใกล้เคียงกัน มีสัตว์ตั้งแต่สองตัวขึ้นไปป่วยหรือตาย มีอาการคล้ายคลึงกันในระยะเวลาห่างกันไม่เกินเจ็ดวัน ให้เจ้าของแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่สารวัตร หรือสัตวแพทย์ท้องที่ภายในเวลายี่สิบสี่ชั่วโมง นับแต่เวลาที่สัตว์ป่วยหรือตาย
ในกรณีที่สัตว์ป่วยตามวรรคก่อน ให้เจ้าของควบคุมสัตว์ป่วยทั้งหมดไว้ภายในบริเวณที่สัตว์อยู่ และห้ามมิให้เจ้าของหรือบุคคลอื่นใดเคลื่อนย้ายสัตว์ป่วยไปจากบริเวณนั้น ในกรณีที่สัตว์ตายตามวรรคก่อนให้เจ้าของควบคุมซากสัตว์นั้นให้คงอยู่ ณ ที่ที่สัตว์นั้นตาย และห้ามมิให้เจ้าของหรือบุคคลอื่นใดเคลื่อนย้าย ชำแหละ หรือกระทำอย่างใดแก่ซากสัตว์นั้น ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่สารวัตร หรือสัตวแพทย์ไม่อาจมาตรวจซากสัตว์นั้นภายในเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลา ที่สัตว์นั้นตาย ให้เจ้าของฝังซากสัตว์นั้นใต้ระดับผิวดินไม่น้อยกว่าห้าสิบเซนติเมตร สำหรับซากสัตว์ใหญ่ให้พูนดินกลบหลุมเหนือระดับผิวดินไม่น้อยกว่าห้าสิบ เซนติเมตรอีกด้วย

   

มาตรา 9

เมื่อได้มีการแจ้งตาม มาตรา 8 หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีสัตว์ป่วย หรือตายโดยโรคระบาด ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือสารวัตรมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าของจัดการดังต่อไปนี้

 

 (1) ให้กักขัง แยก หรือย้ายสัตว์ป่วย หรือสงสัยว่าป่วยไว้ภายในเขตและตามวิธีการที่กำหนดให้ 

 

 (2) ให้ฝัง หรือเผาซากสัตว์นั้น ณ ที่ที่กำหนดให้ ถ้าการฝังหรือเผาไม่อาจทำได้ ให้สั่งทำลายโดยวิธีอื่นตามที่เห็นสมควร หรือ

 

 (3) ให้กักขัง แยก หรือย้ายสัตว์ที่อยู่ร่วมฝูง หรือเคยอยู่ร่วมฝูงกับสัตว์ที่ป่วย หรือ สงสัยว่าป่วยหรือตายไว้ภายในเขต และตามวิธีการที่กำหนดให้

   

มาตรา 10

เมื่อได้มีการแจ้ง ตาม มาตรา 8 หรือตรวจพบ หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าสัตว์ป่วยหรือตายโดยโรคระบาด ให้สัตวแพทย์มีอำนาจเข้าตรวจสัตว์หรือซากสัตว์นั้น และให้มี อำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าของจัดการดังต่อไปนี้

 

 (1) ให้กักขัง แยก หรือย้ายสัตว์ป่วย หรือสงสัยว่าป่วยไว้ภายในเขต และตามวิธีการที่กำหนดให้ หรือให้ได้รับการรักษาตามที่เห็นสมควร
 (2) ให้ฝัง หรือเผาซากสัตว์นั้นทั้งหมด หรือแต่บางส่วน ณ ที่ที่กำหนดให้ ถ้าการฝังหรือเผาไม่อาจทำได้ ก็ให้ทำลายโดยวิธีอื่นตามที่เห็นสมควร
 (3) ให้กักขัง แยก หรือย้ายสัตว์ที่อยู่ร่วมฝูง หรือเคยอยู่ร่วมฝูงกับสัตว์ที่ป่วย หรือสงสัยว่าป่วย หรือตายไว้ภายในเขต และตามวิธีการที่กำหนดให้ หรือให้ได้รับการป้องกันโรคระบาดตามที่เห็นสมควร
 (4) ให้ทำลายสัตว์ที่เป็นโรคระบาด หรือสัตว์ หรือซากสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคระบาด ตามระเบียบที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี ในการนี้ให้เจ้าของได้รับค่าชดใช้ตาม ที่กำหนดในกฎกระทรวงไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่งของราคาสัตว์ซึ่งอาจขายได้ในตลาด ท้องที่ก่อนเกิดโรคระบาด เว้นแต่ในกรณีที่เจ้าของได้จงใจกระทำความผิดต่อบทแห่งพระราชบัญญัตินี้
 (5) ให้กำจัดเชื้อโรคที่อาหารสัตว์ หรือซากสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคระบาด ตามวิธีการที่กำหนดให้ หรือ
 (6) ให้ทำความสะอาด และทำลายเชื้อโรคระบาด หรือพาหะของโรคระบาดในที่ดิน อาคาร ยานพาหนะ หรือสิ่งของตามวิธีการที่กำหนดให้

 

หมวด 2    เขตปลอดโรคระบาด

 

มาตรา 11

เมื่อรัฐมนตรีเห็นสมควร เพื่อป้องกันมิให้เกิดโรคระบาดสำหรับสัตว์ชนิดใดในท้องที่ใด ก็ให้มีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดท้องที่นั้นทั้งหมด หรือแต่บางส่วนเป็นเขตปลอดโรคระบาด ประกาศนี้ให้ระบุชนิดของสัตว์และโรคระบาดไว้ด้วย

   

มาตรา 12

เมื่อได้ประกาศเขตปลอดโรค ระบาดตามมาตรา 11 แล้วห้ามมิให้ผู้ใดเคลื่อนย้ายสัตว์หรือซากสัตว์เข้าใน หรือผ่านเขตนั้น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดี หรือสัตวแพทย์ซึ่งอธิบดีมอบหมาย

   

มาตรา 13

ภายในเขตปลอดโรคระบาด ให้เจ้าของสัตว์มีหน้าที่ปฏิบัติการตามมาตรา 8 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่และสารวัตรมีอำนาจตามมาตรา 9 และให้สัตวแพทย์มีอำนาจตามมาตรา 10 และมาตรา 18

   

มาตรา 14

ภายในเขตปลอดโรคระบาด ถ้าปรากฏว่ามีโรคระบาดหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีโรคระบาด ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือสัตวแพทย์จะประกาศเขตโรคระบาด เขตสงสัยว่ามีโรคระบาดหรือเขตโรคระบาดชั่วคราว แล้วแต่กรณีตามหมวด 3 ก็ได้

 

หมวด 3    เขตโรคระบาด

 

มาตรา 15

ในเขตท้องที่ จังหวัดใดมีหรือสงสัยว่ามีโรคระบาด ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดนั้น มีอำนาจประกาศกำหนดเขตท้องที่จังหวัดนั้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วนเป็นเขตโรคระ บาด หรือเขตสงสัยว่ามีโรคระบาด แล้วแต่กรณี ประกาศนี้ให้ระบุชนิดของสัตว์และโรคระบาดไว้ด้วย และให้ปิดไว้ ณ ศาลากลางจังหวัด ที่ว่าการอำเภอ บ้านกำนัน บ้านผู้ใหญ่บ้าน และที่ชุมนุมชนภายในเขตนั้น

  

 

มาตรา 16

ในกรณีที่สัตวแพทย์เห็น ว่า โรคระบาดที่ตรวจพบในท้องที่ของตน หรือท้องที่อื่นที่ติดต่อกับท้องที่ของตนจะระบาดออกไป ให้สัตวแพทย์มีอำนาจประกาศเป็นหนังสือกำหนดเขตโรคระบาดชั่วคราวมีรัศมีไม่ เกินห้ากิโลเมตรจากที่ที่ตรวจพบโรคระบาดนั้น ประกาศนี้ให้ระบุชนิดของสัตว์และโรคระบาดไว้ด้วย และให้ปิดไว้ ณ บ้านกำนัน บ้านผู้ใหญ่บ้าน และที่ชุมนุมชนภายในเขตนั้น และให้ใช้บังคับได้สามสิบวันนับแต่วันประกาศ

 

 

มาตรา 17 

เมื่อได้มีประกาศกำหนดเขต โรคระบาด หรือเขตสงสัยว่ามีโรคระบาดตามมาตรา 15 หรือประกาศกำหนดเขตโรคระบาดชั่วคราวตามมาตรา 16 แล้ว ห้ามมิให้ผู้ใดเคลื่อนย้ายสัตว์ หรือซากสัตว์ภายในเขตนั้น หรือเคลื่อนย้ายสัตว์ หรือซากสัตว์ เข้าในหรือออกนอกเขตนั้น เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากสัตวแพทย์

 

 

มาตรา 18

ภายในเขตโรคระบาด หรือเขตสงสัยว่ามีโรคระบาดตามมาตรา 15 หรือเขตโรคระบาดชั่วคราวตามมาตรา 16 ให้สัตวแพทย์มีอำนาจตามมาตรา 10 และให้มีอำนาจดังต่อไปนี้อีกด้วย คือ
 (1) ออกประกาศหรือสั่งเป็นหนังสือให้บรรดาเจ้าของแจ้งจำนวนสัตว์บางชนิด และถ้าเห็นสมควรจะให้นำสัตว์นั้นมาให้ได้รับการตรวจ หรือป้องกันโรคระบาดก็ได้
 (2) สั่งให้เจ้าของสัตว์ที่ได้ผ่านการตรวจ หรือป้องกันโรคระบาดแล้วนำสัตว์นั้นมาประทับเครื่องหมายที่ตัวสัตว์ หรือ
 (3) สั่งกักยานพาหนะที่บรรทุกสัตว์หรือซากสัตว์เพื่อตรวจโรคระบาด และถ้าเห็นสมควรจะสั่งกักสัตว์หรือซากสัตว์นั้นเพื่อคุมไว้สังเกตตามความจำ เป็นก็ได้

 

 

มาตรา 19

ภายในเขตโรคระบาด หรือเขตสงสัยว่ามีโรคระบาดตามมาตรา 15 หรือเขตโรคระบาดชั่วคราวตามมาตรา 16 ถ้ามีสัตว์ป่วยหรือตายให้เจ้าของแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ สารวัตร หรือสัตวแพทย์ ภายในเวลาสิบสองชั่วโมงนับแต่เวลาที่สัตว์ป่วยหรือตาย และ ให้นำความในมาตรา 8 วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม

 

 

มาตรา 20

ในเขตท้องที่ จังหวัดใด ซึ่งได้ประกาศเป็นเขตโรคระบาดหรือเขตสงสัยว่ามีโรคระบาด ถ้าปรากฏว่าโรคระบาดนั้นได้สงบลงหรือปรากฏว่าไม่มีโรคระบาดโดยเด็ดขาด แล้วแต่กรณี ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดถอนประกาศเช่นว่านั้นเสีย

 

หมวด 4    การควบคุมการค้าสัตว์และซากสัตว์

 

มาตรา 21

ห้ามมิให้บุคคลใดทำการค้า ช้าง ม้า โค กระบือ แพะ แกะ สุกร หรือสัตว์ชนิดอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง หรือทำการค้าซากสัตว์ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน

   
มาตรา 21 ทวิ

ห้ามมิให้บุคคลใดขาย จำหน่าย จ่าย แจก แลกเปลี่ยน หรือมีไว้ เพื่อขายซึ่งน้ำเชื้อสำหรับผสมพันธุ์หรือเอ็มบริโอของม้า โค กระบือ แพะ แกะ สุกร หรือสัตว์ชนิดอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน
การขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

 

 

มาตรา 22

ใบอนุญาตตามมาตรา 21 หรือ มาตรา 21ทวิ ให้ใช้ได้จนถึง วันสิ้นปีปฏิทินแห่งปีที่ออก

 

 

มาตรา 23

ผู้ทำการค้าสัตว์หรือซากสัตว์ ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต

   
มาตรา 24 ในกรณีที่ผู้รับใบอนุญาต ตามมาตรา 21 หรือมาตรา 21 ทวิ ฝ่าฝืนต่อบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตให้สัตวแพทย์มีอำนาจยึดใบอนุญาตของผู้ นั้นไว้เพื่อเสนอนายทะเบียน ถ้านายทะเบียนเห็นสมควรจะสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตนั้นเสียก็ได้
ผู้ ถูกยึด พักใช้ หรือเพิกถอนใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง มีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรี หรือผู้ที่รัฐมนตรีมอบหมายภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ถูกยึด พักใช้ หรือเพิกถอนใบอนุญาต แล้วแต่กรณี
คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีหรือผู้ที่รัฐมนตรีมอบหมายให้เป็นที่สุด

 

หมวด 5    เบ็ดเตล็ด

 

มาตรา 25

ถ้ามีสัตว์ที่ไม่ปรากฏ เจ้าของป่วย หรือตายในที่ดินของบุคคลใด ให้เจ้าของที่ดินนั้นมีหน้าที่ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้เช่นเดียวกับ เจ้าของสัตว์นั้น และเมื่อปรากฏ เจ้าของสัตว์ในภายหลังเจ้าของที่ดินมีสิทธิเรียกร้องค่าใช้จ่ายเท่าที่จ่าย จริงจากเจ้าของสัตว์ได้

 

 

มาตรา 26

ถ้ามีสัตว์ที่ไม่ปรากฏ เจ้าของป่วย หรือตายโดยโรคระบาดในที่สาธารณะหรือที่ดินไม่ปรากฏเจ้าของ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สารวัตร หรือสัตวแพทย์มีอำนาจกักสัตว์หรือซากสัตว์นั้นไว้ ณ ที่ที่เห็นสมควรภายในบริเวณที่นั้นได้ สำหรับซากสัตว์นั้นเมื่อเห็นสมควรจะฝังเสียก็ได้ ในกรณีจำเป็นเพื่อป้องกันมิให้โรคระบาดแพร่หลาย สัตวแพทย์จะทำลายสัตว์หรือซากสัตว์ หรือฝังซากสัตว์นั้นภายในบริเวณที่นั้นก็ได้
เมื่อปรากฏเจ้าของในภายหลัง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ สารวัตรหรือสัตวแพทย์มีสิทธิเรียกร้องค่าใช้จ่ายเท่าที่จ่ายจริงจากเจ้าของสัตว์ได้

 

 

มาตรา 27 

สำหรับสัตว์ที่เจ้าของนำ ไปมา หรือขนส่งโดยยานพาหนะ หากปรากฏว่าเป็นโรคระบาดหรือเป็นพาหะของโรคระบาด หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคระบาดหรือเป็นพาหะของโรคระบาด ให้สัตวแพทย์มีอำนาจสั่งกักสัตว์นั้นไว้ ณ ที่ที่เห็นสมควรตามความจำเป็นได้
ค่าใช้จ่ายในการนี้ให้เจ้าของสัตว์เป็นผู้ออก

 

 

มาตรา 28 

ห้ามมิให้บุคคลใดขุดซากสัตว์ที่ฝังไว้แล้ว ตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากสัตวแพทย์

 

 

มาตรา 29 

เมื่อปรากฏว่ามีโรคระบาด หรือพาหะของโรคระบาด หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีโรคระบาด หรือพาหะของโรคระบาดในยานพาหนะ อาคาร หรือสถานที่อื่นใด ให้สัตวแพทย์มีอำนาจเรียกตรวจยานพาหนะ หรือเข้าไปในอาคาร หรือสถานที่นั้น และให้เจ้าของยานพาหนะ อาคารหรือสถานที่นั้น ให้ความสะดวกแก่สัตวแพทย์ตามสมควร
การเข้าไปในอาคาร หรือสถานที่ตามวรรคก่อน ให้กระทำได้ระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก

 

 

มาตรา 30

ให้รัฐมนตรีมีอำนาจประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา
 (1) กำหนดท่าเข้าและท่าออก
 (2) ห้ามการนำเข้า หรือนำผ่านราชอาณาจักรซึ่งสัตว์ หรือซากสัตว์จากท้องที่ภายนอกราชอาณาจักร ในกรณีปรากฏว่าท้องที่นั้นมีหรือสงสัยว่ามีโรคระบาด และ
 (3) วางระเบียบการยึด ทำลาย หรือส่งกลับซึ่งสัตว์ หรือซากสัตว์โดยไม่มีค่าชดใช้ ในกรณี
      ก. นำเข้า หรือนำผ่านราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนต่อบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ หรือ
      ข. นำเข้า หรือนำผ่านราชอาณาจักรโดยถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ เมื่อสัตว์นั้นเป็นโรคระบาด หรือสัตว์ หรือซากสัตว์นั้นเป็นพาหะของโรคระบาดในขณะนั้น หรือภายหลังนำเข้า หรือนำผ่านราชอาณาจักร

 

 

มาตรา 31

ห้ามมิให้บุคคลใดนำเข้า นำออกหรือนำผ่านราชอาณาจักร ซึ่งสัตว์หรือซากสัตว์ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากอธิบดี หรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย
อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย จะกำหนดเงื่อนไขตามที่เห็นสมควรไว้ในใบอนุญาตก็ได้
การ นำเข้า นำออก หรือนำผ่านราชอาณาจักร ซึ่งสัตว์หรือซากสัตว์ตามมาตรานี้ ให้นำเข้า นำออก หรือนำผ่าน ท่าเข้าหรือท่าออก แล้วแต่กรณี เว้นแต่อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายจะสั่งเป็นอย่างอื่น

 

 

มาตรา 32

ผู้ใดนำเข้า นำออก หรือนำผ่านราชอาณาจักร ซึ่งสัตว์หรือซากสัตว์ ต้องปฏิบัติการตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

 

 

มาตรา 33 

ให้อธิบดีมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(1) แต่งตั้งสารวัตรเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
(2) กำหนดด่านกักสัตว์และสถานีขนส่งสัตว์
(3) วางระเบียบการทำลายสัตว์ที่เป็นโรคระบาด หรือการทำลายสัตว์หรือซากสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคระบาด และ
(4) วางระเบียบการตรวจโรคและทำลายเชื้อโรคจากสัตว์หรือซากสัตว์ที่มีการนำเข้า นำออก หรือนำผ่านราชอาณาจักร หรือเคลื่อนย้ายภายในราชอาณาจักร

 

 

มาตรา 34

ผูู้้ใดนำช้าง ม้า โค กระบือ แพะ แกะ สุกร หรือน้ำเชื้อสำหรับผสมพันธุ์หรือเอ็มบริโอของสัตว์เหล่านี้ หรือสัตว์ชนิดอื่นตามที่กำหนดในกฏกระทรวงหรือซากสัตว์ตามที่กำหนดใน กฏกระทรวง ไปยังท้องที่ต่างจังหวัด ต้องได้รับอนุญาตจากสัตวแพทย์ประจำท้องที่
ในการออกใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง สัตวแพทย์จะกำหนดเงื่อนไขตามที่จำเป็นไว้ในใบอนุญาตเกี่ยวกับการใช้เส้นทาง และยานพาหนะในการนำสัตว์ไปและสถานีขนส่งสัตว์และการผ่านด่านกักสัตว์ตาม ระเบียบที่อธิบดีกำหนดก็ได้ เว้นแต่เป็นการนำสัตว์ไปเลี้ยงหรือใช้งานชั่วคราว

 

 

มาตรา 35

ผููู้้ใดนำสัตว์ผ่่านด่านกักสัตว์ ต้องปฏิบัติการตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

 

 

มาตรา 36 

ผูู้ใดส่งสัตว์ หรือซากสัตว์ไปจำหน่ายต่างประเทศ ต้องปฏิบัติการตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

 

 

มาตรา 37 

ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บ เฉพาะค่าที่พักสัตว์หรือซากสัตว์ที่ส่งไปต่างประเทศ ให้กันไว้เป็นทุนเพื่อใช้จ่ายในการควบคุมการส่งสัตว์หรือซากสัตว์ไปจำหน่าย ต่างประเทศเป็นจำนวนร้อยละห้าสิบของเงินที่เก็บได้ทั้งสิ้น เหลือเท่าใดให้นำส่งเป็นรายได้ของแผ่่นดิน

 

 

มาตรา 38

ให้สารวัตรมีอำนาจจับกุม ผูู้้กระทำผิดต่อบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจยึดสัตว์ ซากสัตว์ หรือสิ่งของใด ๆ ที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ไว้เพื่อส่งพนักงานสอบสวน ดำเนินการต่อไปตามกฏหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญา หรือเพื่อดำเนินการตามมาตรา 51

 

หมวด 6    บทกำหนดโทษ

 

มาตรา 39

ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 8 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท

 

 

มาตรา 40

ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 8 วรรคสองหรือฝ่าฝืนคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือสารวัตร ตามมาตรา 9 หรือฝ่าฝืนมาตรา 19 หรือเจ้าของยานพาหนะ อาคารหรือสถานที่ ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกให้แก่สัตวแพทย์ตามสมควร ตามมาตรา 29 วรรคหนึ่ง ต้อง ระวางโทษจำคุกไม่เกินสองเดือน หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 

 

 

มาตรา 41

ผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่ง สัตวแพทย์ตามมาตรา 10 หรือมาตรา 18 หรือฝ่าฝืนมาตรา 23 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 

 

 

มาตรา 42

ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 12 มาตรา 17 มาตรา 21 มาตรา 21ทวิ หรือ มาตรา 28 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 

 

 

มาตรา 43

ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 13  

 

ในกรณีไม่ปฏิบัติการตามมาตรา 8 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 39
ใน กรณีไม่ปฏิบัติการตามมาตรา 8 วรรคสอง หรือฝ่าฝืนคำสั่งพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือสารวัตรตามมาตรา 9 ต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 40
ในกรณีฝ่าฝืนคำสั่งสัตวแพทย์ตามมาตรา 10 หรือมาตรา 18 ต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 41 

 

 

มาตรา 44 

เจ้าของที่ดินผู้ใดไม่ปฏิบัติการตามหน้าที่ตามที่ระบุไว้ใน มาตรา 25 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท 

 

 

มาตรา 45

(ถูกยกเลิกทั้งหมด โดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542])

 

 

มาตรา 46

ผู้ใดฝ่าฝืนประกาศของรัฐมนตรีตามมาตรา 30 (2) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ  

 

 

มาตรา 47

ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 31 วรรคหนึ่งหรือวรรคสาม หรือฝ่าฝืนเงื่อนไข ที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตตามมาตรา 31 วรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 

 

 

มาตรา 48

ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 32 มาตรา 35 หรือมาตรา 36 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองเดือน หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 

 

 

มาตรา 49

ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 34 วรรคหนึ่ง หรือฝ่าฝืนเงื่อนไขที่กำหนดไว้ ในใบอนุญาตตามมาตรา 34 วรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกิน หนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 

 

 

มาตรา 50 

ผู้ใดใช้เครื่องหมายปลอม หรือแปลงประทับที่ตัวสัตว์เปลี่ยนแปลงหรือ แก้ไขเครื่องหมายรอยประทับที่ตัวสัตว์ เพื่อให้เข้าใจว่าเป็นเครื่องหมายของเจ้าพนักงาน หรือทำลาย หรือแก้ไขเครื่องหมายใด ๆ ที่เจ้าพนักงานทำไว้แก่ซากสัตว์ หรือภาชนะ หรือสิ่งห่อหุ้มซากสัตว์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 

 

 

มาตรา 51 

บรรดาความผิดตามพระราช บัญญัตินี้ที่มีโทษปรับสถานเดียว ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอำนาจเปรียบเทียบได้ และเมื่อผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามจำนวนที่เปรียบเทียบภายในระยะเวลาที่ กำหนดแล้ว ให้คดีนั้นเป็นอันเลิกกัน 

 

 

มาตรา 52

ให้อธิบดีมีอำนาจสั่งจ่ายเงินสินบนและรางวัลตามระเบียบที่อธิบดี กำหนดโดยความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง

 

   
 

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

 จอมพล ป.พิบูลสงคราม
       นายกรัฐมนตรี

 

 

 

 

หมายเหตุ:- 

เหตุผล ในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติโรคระบาดปศุสัตว์และสัตว์พาหนะเท่าที่ใช้อยู่ในเวลา นี้มีหลายฉบับด้วยกัน ไม่สะดวกแก่การปฏิบัิติงานของเจ้าหน้าที่และเป็นการยากแก่ราษฎรที่จะต้อง ปฏิบัติตามกฏหมาย จึงเห็นสมควรรวบรวมไว้ในฉบับเดียวกันให้เหมาะสมและสอดคล้องแก่เหตุการณ์และ วิวัฒนาการของประเทศในปัจจุบันนี้

   
  ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 73 ตอนที่ 78 หน้า 1063-1089 วันที่ 2 ตุลาคม 2499 

 

 ลำดับ

 รายการ


 บาท

 หมายเหตุ

 

 1

ใบอนุญาตให้นำสัตว์เข้าในราชอาณาจักร

 

 

 

 

 ช้าง

 เชือกละ

 250

 

 

 ม้า โค กระบือ ลา ล่อ สุนัข แมว ลิง ชะนี

 ตัวละ

 100

 

 

 แพะ แกะ สุกร กระต่าย

 ตัวละ 

 50

 

 

 นกกระจอกเทศ นกอีมู

 ตัวละ

 200

 

 

 ไก่ เป็ด ห่าน และสัตว์ปีกชนิดอื่น

 ตัวละ

 5

 

 

 สัตว์ชนิดอื่น

 ตัวละ

 100

 

 

 น้ำเชื้อสำหรับผสมพันธุ์

 โด๊สละ

 10

 

 

 เอ็มบริโอ

 ตัวละ

 100

 

 

 ไข่นกกระจอกเทศ ไข่นกอีมู สำหรับใช้ทำพันธุ์

 ฟองละ

 50

 

 

 ไข่สัตว์ปีกชนิดอื่นสำหรับใช้ทำพันธุ์ 

 ฟองละ

 50

 

 

 

 

 

 

 2

ใบอนุญาตให้นำสัตว์ออกนอกราชอาณาจักร

 

 

 

 

 ช้าง

 เชือกละ 

 50,000

 

 

 ม้า โค กระบือ ลา ล่อ สุนัข แมว ลิง ชะนี  

 ตัวละ 

 50

 

 

 แพะ แกะ สุกร    

 ตัวละ

 25 

 

 

 กระต่าย

 ตัวละ  

 10 

 

 

 สัตว์ชนิดอื่น 

 ตัวละ

 500

 

 

 

 

 

 

 3

ใบอนุญาตให้นำสัตว์ผ่านราชอาณาจักร  

 

 

 

 

 ช้าง 

 เชือกละ

 2,000

 

 

 ม้า โค กระบือ ลา ล่อ

 ตัวละ

 100

 

 

 แพะ แกะ สุกร สุนัข ลิง ชะนี

 ตัวละ

 50

 

 

 แมว กระต่าย

 ตัวละ

 20

 

 

 สัตว์ชนิดอื่น 

 ตัวละ  

 100

 

 

 น้ำเชื้อสำหรับผสมพันธุ์

 โด้สละ

 5

 

 

 เอ็มบริโอ

 ตัวละ  

 20

 

 

 ไข่นกกระจอกเทศ ไข่นกอีมูสำหรับใช้ทำพันธุ์

 ฟองละ

 50

 

 

 ไข่สัตว์ปีกชนิดอื่นสำหรับใช้ทำพันธุ์   

 ฟองละ

 50

 

 

 

 

 

 

 4 

ใบอนุญาตให้นำซากสัตว์เข้าในราชอาณาจักร   

 กิโลกรัมละ

 20

 *

 

 

 

 

 

 5

ใบอนุญาตให้นำซากสัตว์ออกนอกราชอาณาจักร

 กิโลกรัมละ

 1

 *

 

 

 

 

 

 6

ใบอนุญาตให้นำซากสัตว์ผ่านราชอาณาจักร

 กิโลกรัมละ 

 1

 

 

 

 

 

 

 7

ใบอนุญาตให้ทำการค้าช้าง ม้า โค กระบือ แพะ แกะ สุกร และสัตว์ชนิดอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

 

 

 

 

 (1) ส่งไปต่างประเทศ

 ฉบับละ 

 2,000

 

 

 (2) ทั่วราชอาณาจักร 

 ฉบับละ

 400

 

 

 (3) ภายในจังหวัด

 ฉบับละ

 100

 

 

 

 

 

 

 8

ใบอนุญาตให้ขายน้ำเชื้อ สำหรับผสมพันธุ์ หรือเอ็มบริโอ

 

 

 

 

 (1) ส่งไปต่างประเทศ  

 ฉบับละ

 800

 

 

 (2) ทั่วราชอาณาจักร

 ฉบับละ

200

 

 

 

 

 

 

 9

ใบอนุญาตให้ทำการค้าซากสัตว์  

 

 

 

 

 (1) ส่งไปต่างประเทศ

 ฉบับละ

 400

 

 

 (2) ทั่วราชอาณาจักร  

 ฉบับละ

 100

 

 

 (3) ภายในจังหวัด

 ฉบับละ

 20

 

 

 

 

 

 

 10

ใบแทนใบอนุญาตให้ทำการค้าสัตว์ 

 

 

 

 

ใบอนุญาตให้ขายน้ำเชื้อสำหรับผสมพันธุ์

 

 

 

 

หรือเอ็มบริโอ หรือใบอนุญาตให้ทำการค้าซากสัตว์ 

 ฉบับละ

 20

 

 

 

 

 

 

 11

ค่าทำลายเชื้อโรคผ่านด่านกักสัตว์ 

 ตัวละ

 50

 

 

 

 

 

 

 12

ค่าที่พักสัตว์ที่ส่งไปต่างประเทศ

 

 

 

 

 โค กระบือ

ตัวละ 

 50

 

 

 สุกร

ตัวละ

 30

 

 

 แพะ แกะ

ตัวละ 

 20

 

 

 

 

 

 

 13

ค่าที่พักซากสัตว์ที่ส่งไปต่างประเทศ

 

 

 **

 

 ซากโค กระบือ สุกร

กิโลกรัมละ

 2

 

 

 แพะ แกะ   

กิโลกรัมละ

 1

 

...........

 

....................

 

 ...........................................

 

 หมายเหตุ

 

 *

ค่าธรรมเนียมลำดับ ที่ 4 ที่ 5 และ ที่ 6 ถ้าเศษของ 1 กิโลกรัม ตั้งแต่ 500 กรัมขึ้นไปคิดเป็น 1 กิโลกรัม ถ้าไม่ถึง 500 กรัมให้ปัดทิ้ง 

 **

ถ้าเศษของ 1 กิโลกรัม ตั้งแต่ 500 กรัมขึ้นไปคิดเป็น 1 กิโลกรัม ถ้าไม่ถึง 500 กรัมให้ปัดทิ้ง 

Download ( pdf file)

พระราชบัญญัติ โรคติดต่อ พ.ศ. 2523

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2523
เป็นปีที่ 35 ในรัชกาลปัจจุบัน

 

มาตราที่   1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

มาตราที่ 12

13

14

15

16

17

18

19

20

21

22

   

มาตรา 1

พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2523"

 

 

  

     

 

มาตรา 2

พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
[รก.2523/52/1 พ./3 เมษายน 2523]

 

 

  

   

 

มาตรา 3

ให้ยกเลิก

 

(1)

พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พุทธศักราช 2477

 

(2)

พระราชบัญญัติโรคติดต่อ (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2479

 

 (3)

พระราชบัญญัติโรคติดต่อ (ฉบับที่ 3) พุทธศักราช 2482

 

(4)

พระราชบัญญัติไข้จับสั่น พุทธศักราช 2485

 

 (5)

พระราชบัญญัติโรคเรื้อน พุทธศักราช 2486

 

บรรดากฎหมาย กฎ และข้อบังคับอื่นที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน

 

 

  

   

มาตรา 4

ในพระราชบัญญัตินี้

 

(1)

"โรคติดต่อ" หมายความว่า โรคซึ่งรัฐมนตรีประกาศตาม มาตรา 5 ให้เป็นโรคติดต่อ และให้หมายความรวมถึงโรคซึ่งรัฐมนตรีหรือ ผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศตาม มาตรา 6 วรรคสอง ให้เป็นโรคติดต่อด้วย  

 

(2)

"โรคติดต่ออันตราย" หมายความว่า โรคติดต่อซึ่งรัฐมนตรี ประกาศตาม มาตรา 5 ให้เป็นโรคติดต่ออันตราย

 

(3)

"โรคติดต่อต้องแจ้งความ" หมายความว่า โรคติดต่อซึ่งรัฐมนตรี ประกาศตาม มาตรา 5 ให้เป็นโรคติดต่อต้องแจ้งความ และให้หมายความรวมถึงโรคติดต่อตาม มาตรา 5 ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศตาม มาตรา 6 วรรคหนึ่ง หรือโรคซึ่งรัฐมนตรีหรือผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศตาม มาตรา 6 วรรคสอง ให้เป็นโรคติดต่อต้องแจ้งความด้วย

 

(4)

"พาหะ" หมายความว่า คนหรือสัตว์ซึ่งไม่มีอาการของโรคติดต่อ ปรากฏ แต่ร่างกายมีเชื้อโรคนั้นซึ่งอาจติดต่อถึงผู้อื่นได้

 

(5)

"ผู้สัมผัสโรค" หมายความว่า คนซึ่งได้เข้าใกล้ชิดคน สัตว์ หรือ สิ่งของติดโรค จนเชื้อโรคนั้นอาจติดต่อถึงผู้นั้นได้

 

(6)

"ระยะฟักตัวของโรค" หมายความว่า ระยะเวลาตั้งแต่เชื้อโรค เข้าสู่ร่างกาย จนถึงเวลาที่ผู้ติดโรคแสดงอาการป่วยของโรคนั้น

 

(7)

"ระยะติดต่อของโรค" หมายความว่า ระยะเวลาที่เชื้อโรค สามารถจะแพร่จากคนหรือสัตว์ที่มีเชื้อโรคไปยังผู้อื่นได้ โดยทางตรงหรือ ทางอ้อม

 

(8)

"แยกกัก" หมายความว่า การแยกผู้สัมผัสโรคหรือพาหะ ออกไว้ต่างหากจากผู้อื่นในที่เอกเทศ และตามภาวะอันจะป้องกันมิให้เชื้อโรคแพร่หลาย โดยทางตรงหรือทางอ้อมไปยังผู้ซึ่งอาจได้รับเชื้อโรคนั้น ๆ ได้ จนกว่าจะพ้นระยะติดต่อของโรค

 

(9)

"กักกัน" หมายความว่า การควบคุมผู้สัมผัสโรคหรือพาหะ ให้อยู่ในที่เอกเทศจนกว่าจะพ้นระยะฟักตัวของโรคนั้น ๆ หรือจนกว่าจะพ้นความ เป็นพาหะ

  (10) "คุม ไว้สังเกต" หมายความว่า การควบคุมดูแลผู้สัมผัสโรค หรือพาหะ โดยไม่กักกัน และอาจจะอนุญาตให้ผ่านไปในที่ใด ๆ ก็ได้ โดยมีเงื่อนไขว่าเมื่อไปถึงท้องที่ใดที่กำหนดไว้ ผู้นั้นต้องแสดงตัวต่อเจ้าพนักงานสาธารณสุขประจำท้องที่นั้น เพื่อรับการตรวจในทางแพทย์
  (11) "เขต ติดโรค" หมายความว่า ท้องที่หนึ่งท้องที่ใด ในหรือนอกราชอาณาจักรที่มีโรคติดต่อเกิดขึ้น ตามที่รัฐมนตรีหรือผู้ว่าราชการจังหวัด ประกาศในท้องที่นั้น ๆ เป็นเขตติดโรค
  (12) "พาหนะ" หมายความว่า ยาน สัตว์ หรือวัตถุ ซึ่งใช้ในการขนส่งคน สัตว์ หรือสิ่งของ ทางบก ทางน้ำ หรือทางอากาศ
  (13) "เจ้าของพาหนะ" หมายความรวมถึง ตัวแทน เจ้าของ ผู้เช่า ตัวแทนผู้เช่าหรือผู้ครอบครอง
  (14) "ผู้ควบคุมพาหนะ" หมายความว่า ผู้รับผิดชอบในการควบคุมพาหนะ
  (15) "ผู้เดินทาง" หมายความว่า คนซึ่งเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร รวมทั้งผู้ควบคุมพาหนะและคนประจำพาหนะ
  (16) "การ สร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค" หมายความว่า การกระทำทางการแพทย์โดยวิธีใด ๆ ก็ตาม ต่อคนหรือสัตว์เพื่อให้คนหรือสัตว์นั้น เกิดอำนาจต้านทานโรค
  (17) "ที่ เอกเทศ" หมายความว่า ที่ใด ๆ ซึ่งเจ้าพนักงานสาธารณสุข กำหนดให้เป็นที่สำหรับแยกกัก หรือกักกันคนหรือสัตว์ที่ป่วย หรือมีเหตุสงสัยป่วยด้วยโรคติดต่อใด ๆ เพื่อป้องกันและควบคุมมิให้โรคนั้นแพร่หลาย
  (18) "เจ้า พนักงานสาธารณสุข" หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับ แต่งตั้งให้มีหน้าที่ตรวจตรา ดูแล และรับผิดชอบในการสาธารณสุขโดยทั่วไป หรือเฉพาะในท้องที่ใดท้องที่หนึ่ง
  (19) "พนักงานเจ้าหน้าที่" หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้

 

 (20)

"รัฐมนตรี" หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

 

 

  

   

มาตรา 5

โรคใดจะเป็นโรคติดต่อ โรคติดต่ออันตราย หรือโรคติดต่อต้องแจ้งความ ให้รัฐมนตรีประกาศชื่อและอาการสำคัญของโรคไว้ในราชกิจจานุเบกษา

 

 

  

   

มาตรา 6

ในกรณีจำเป็นและสมควรให้ ผู้ว่าราชการจังหวัด มีอำนาจประกาศกำหนดให้โรคติดต่อซึ่งรัฐมนตรีประกาศตาม มาตรา 5 เป็นโรคติดต่อต้องแจ้งความเฉพาะในเขตของตน
ในกรณีที่ตรวจพบหรือ มีเหตุสงสัยว่าโรคใดโรคหนึ่งอันมิใช่โรคติดต่อ ที่ได้มีประกาศตาม มาตรา 5 เป็นโรคซึ่งอาจติดต่อแพร่หลายเป็นอันตรายแก่ประชาชนได้ ให้รัฐมนตรีหรือผู้ว่าราชการจังหวัดเฉพาะในเขตของตน มีอำนาจประกาศระบุชื่อและอาการสำคัญของโรคนั้นให้เป็นโรคติดต่อหรือโรค ติดต่อต้องแจ้งความ

 

 

  

   

มาตรา 7

ในกรณีที่มีโรคติดต่อ อันตราย หรือโรคติดต่อต้องแจ้งความเกิดขึ้น หรือมีเหตุสงสัยว่าได้มีโรคติดต่อดังกล่าวเกิดขึ้น ให้บุคคลดังต่อไปนี้ แจ้งต่อเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือพนักงานเจ้าหน้าที่

 

(1)

ในกรณีมีการป่วยหรือมี เหตุสงสัยว่าได้มีการป่วยโดยโรคติดต่อดังกล่าวเกิดขึ้นในบ้าน ให้เป็นหน้าที่ของเจ้าบ้าน หรือของผู้ควบคุมดูแลบ้าน หรือของแพทย์ผู้ทำการรักษาพยาบาล

 

(2)

ในกรณีมีการป่วยหรือมี เหตุสงสัยว่าได้มีการป่วยด้วยโรคติดต่อดังกล่าวเกิดขึ้นในสถานพยาบาล ให้เป็นหน้าที่ของผู้รับผิดชอบในสถานพยาบาลนั้น

 

(3)

ในกรณีที่ได้มีการชันสูตร ทางแพทย์ตรวจพบว่าอาจมีเชื้อ อันเป็นเหตุของโรคติดต่อดังกล่าว ให้เป็นหน้าที่ของผู้ทำการชันสูตรทางแพทย์ หรือ ของผู้รับผิดชอบในสถานที่ที่ได้มีการชันสูตรทางแพทย์นั้น

 

(4)

หลักเกณฑ์ และวิธีการแจ้งตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

 

 

  

   

มาตรา 8

เมื่อปรากฏแก่เจ้าพนักงาน สาธารณสุขว่าได้เกิด หรือ มีเหตุสงสัยว่า ได้เกิดโรคติดต่ออันตรายอย่างใดเกิดขึ้นในบ้าน โรงเรือน สถานที่ หรือพาหนะใด ให้เจ้าพนักงานสาธารณสุขมีอำนาจที่จะดำเนินการเอง ประกาศหรือออกคำสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ใดดำเนินการดังต่อไปนี้ได้

 

(1)

ให้คนหรือสัตว์ซึ่งป่วย หรือมีเหตุสงสัยว่าป่วย เป็นโรคติดต่ออันตราย เป็นผู้สัมผัสโรค หรือเป็นพาหะของโรคติดต่ออันตราย มารับการตรวจ การชันสูตร ทางแพทย์ หรือการรักษา หรือคุมไว้สังเกต ณ สถานที่ซึ่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขกำหนด
ใน กรณีที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นว่า คนซึ่งป่วยหรือมีเหตุสงสัยว่า ป่วยเป็นโรคอยู่ในภาวะซึ่งอาจเป็นเหตุให้เชื้อโรคแพร่หลายจนเป็นอันตรายร้าย แรงแก่ประชาชนได้ ให้มีอำนาจแยกกักผู้นั้นไปรับการรักษาในสถานพยาบาล หรือในที่เอกเทศ จนกว่าจะได้รับการตรวจและการชันสูตรทางแพทย์ว่าพ้นระยะติดต่อของโรคหรือหมด เหตุสงสัย

 

(2)

กักกันหรือคุมไว้สังเกตซึ่งคนหรือสัตว์ซึ่งเป็นหรือมีเหตุสงสัยว่า เป็นผู้สัมผัสโรคหรือพาหะ

 

(3)

ให้คนหรือสัตว์รับการป้องกัน ตามวัน เวลา และสถานที่ซึ่ง เจ้าพนักงานสาธารณสุขกำหนด

 

(4)

ดำเนินการหรือให้เจ้าของ หรือผู้อยู่ในบ้าน โรงเรือน สถานที่ หรือพาหนะใดที่โรคติดต่ออันตรายได้เกิดขึ้น จัดการกำจัดความติดโรคหรือ ทำลายสิ่งใด ๆ หรือสัตว์ที่มีเหตุเชื่อได้ว่าเป็นสิ่งติดโรค จนกว่าเจ้าพนักงาน สาธารณสุขจะเห็นว่าปราศจากความติดโรค และได้ถอนคำสั่งนั้นแล้ว

 

(5)

ดำเนินการหรือให้เจ้าของ หรือผู้อยู่ในบ้าน โรงเรือน สถานที่ หรือพาหนะใดที่โรคติดต่ออันตรายได้เกิดขึ้น จัดการแก้ไข ปรับปรุงการ สุขาภิบาล หรือรื้อถอนสิ่งที่ไม่ถูกสุขลักษณะ หรือจัดให้มีขึ้นใหม่ให้ถูก สุขลักษณะ

 

(6)

ให้นำศพหรือซากสัตว์ซึ่ง ปรากฏหรือมีเหตุสงสัยว่าตายด้วย โรคติดต่ออันตรายไปรับการตรวจ หรือจัดการทางแพทย์ หรือจัดการแก่ศพ หรือซากสัตว์นั้นด้วยประการอื่นใด เพื่อป้องกันการแพร่หลายของโรค

 

(7)

ดำเนินการหรือกำหนดให้ปฏิบัติการเพื่อป้องกัน กำจัด สัตว์ หรือแมลง หรือตัวอ่อนของแมลงที่เป็นเหตุให้เกิดโรค

 

(8)

ดำเนินการหรือกำหนดให้ ปฏิบัติในการ ทำ ประกอบ ปรุง จับต้อง บรรจุ เก็บ สะสม จำหน่ายอาหาร น้ำแข็ง เครื่องดื่มหรือน้ำเพื่อ ป้องกันการแพร่หลายของโรค

 

(9)

จัดหาและให้เครื่องอุปโภคบริโภค รวมทั้งเวชภัณฑ์หรือเคมีภัณฑ์ เพื่อป้องกันการแพร่หลายของโรค

 

(10)

จัดหาน้ำที่ถูกสุขลักษณะไว้ในบ้าน โรงเรือน สถานที่ หรือ พาหนะ

 

(11)

ห้ามกระทำการใด ๆ อันน่าจะเป็นเหตุให้เกิดภาวะไม่ถูก สุขลักษณะแก่ถนนหนทาง บ้าน โรงเรือน สถานที่ พาหนะ หรือที่สาธารณะอื่นใด

 

(12)

ห้ามกระทำการใด ๆ อันอาจจะเป็นเหตุให้โรคแพร่หลาย

 

 

  

   

มาตรา 9

ในกรณีที่เจ้าพนักงาน สาธารณสุขได้ออกคำสั่งประกาศตามมาตรา 8 ให้ปิดประกาศนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ สถานที่แยกกัก สถานที่กักกัน บ้าน โรงเรือน สถานที่หรือพาหนะที่ผู้ป่วยอาศัยหรือพักอยู่ และหรือบริเวณที่ใกล้เคียง ตลอดเวลาที่คำสั่งตามประกาศนั้นยังคงใช้บังคับอยู่ ห้ามผู้ใดนอกจากเจ้าพนักงานสาธารณสุขเข้าไปในหรือออกจากสถานที่แยกกัก สถานที่กักกัน บ้าน โรงเรือน สถานที่หรือพาหนะ ที่ผู้ป่วยอาศัยหรือ พักอยู่หรือย้ายสิ่งของใด ๆ ออกจากที่นั้น เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานสาธารณสุข

 

 

  

   

มาตรา 10

เมื่อมีโรคติดต่ออันตราย เกิดขึ้นหรือน่าจะเกิดขึ้นในท้องที่ใด รัฐมนตรีหรือผู้ว่าราชการจังหวัดเฉพาะในเขตของตน มีอำนาจประกาศโดยระบุชื่อและอาการสำคัญของโรค ตำบล หมู่บ้านหรือสถานที่ใด เป็นเขตติดโรค และจะกำหนดปริมณฑลโดยรอบไว้เป็นเขตติดโรคด้วยก็ได้
เมื่อ ได้มีประกาศดังกล่าวแล้ว ให้เจ้าพนักงานสาธารณสุขมีอำนาจดำเนินการเอง ประกาศหรือออกคำสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ใดดำเนินการใด ๆ ในเขตหรือในบริเวณปริมณฑลนั้น ดังต่อไปนี้

 

(1)

ปฏิบัติการใด ๆ ตามที่กำหนดไว้ใน มาตรา 8

 

(2)

ห้ามผู้ใดเข้าไปในหรือออกจากเขตติดโรคหรือที่เอกเทศ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานสาธารณสุข

 

(3)

เข้าไปในบ้าน โรงเรือน สถานที่ หรือพาหนะใด ที่เกิดหรือ มีเหตุสงสัยว่าเกิดโรคได้ โดยมิต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า แต่ต้องกระทำใน ภาวะอันสมควร

 

(4)

รื้อถอน ทำลาย หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงตามความจำเป็น ซึ่งบ้าน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง สถานที่ พาหนะ หรือสิ่งของใด ๆ เพื่อป้องกันการแพร่หลายของโรค

 

(5)

ปิดตลาด โรงมหรสพ สถานศึกษา สถานที่ประกอบหรือจำหน่ายอาหาร สถานที่ผลิตหรือจำหน่ายเครื่องดื่ม โรงงาน สถานที่ชุมนุมชน หรือ สถานที่อื่นใดไว้ชั่วคราวตามที่เห็นสมควรเพื่อป้องกันการแพร่หลายของโรค

 

(6)

ห้ามคนซึ่งป่วยหรือมีเหตุ สงสัยว่าป่วยเป็นโรคติดต่ออันตราย ประกอบอาชีพใด ๆ หรือเข้าไปในสถานศึกษา สถานที่ชุมนุมชนหรือสถานที่อื่นใด เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานสาธารณสุข

 

 

  

   

มาตรา 11

เมื่อโรคติดต่อต้องแจ้ง ความเกิดขึ้นในบ้าน โรงเรือน สถานที่ พาหนะหรือท้องที่ใด ถ้าเจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นว่าโรคติดต่อดังกล่าวจะระบาดต่อไป ให้มีอำนาจปฏิบัติการใด ๆ ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 8 และมาตรา 10 ได้โดยอนุโลม  

 

 

มาตรา 12

เพื่อป้องกันมิให้ โรคติดต่อใดเกิดหรือแพร่หลาย ให้รัฐมนตรีมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้บุคคลต้องได้รับการสร้างเสริม ภูมิคุ้มกันโรค
เมื่อได้มีประกาศตามวรรคหนึ่งแล้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจประกาศกำหนดให้บุคคลใดได้รับการสร้างเสริมภูมิ คุ้มกันโรค ณ เวลาและ สถานที่ซึ่งจะได้กำหนดไว้ในประกาศนั้น 

  

   

มาตรา 13

ในการป้องกันและควบคุมโรค ติดต่อระหว่างประเทศ ให้ช่องทางและด่านตรวจคนเข้าเมืองตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองเป็น ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ เมื่อมีเหตุอันสมควรให้เจ้าพนักงาน สาธารณสุขประจำด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศมีอำนาจ ดังต่อไปนี้

 

(1)

ให้เจ้าของพาหนะหรือผู้ ควบคุมพาหนะแจ้งกำหนดวัน เวลา และสถานที่ที่พาหนะนั้น ๆ จะเข้ามาถึงท่าอากาศยาน ท่าเรือ หรือท่าขนส่ง ทางบก ต่อเจ้าพนักงานสาธารณสุขประจำด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ ตามวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

 

(2)

ให้เจ้าของพาหนะหรือผู้ ควบคุมพาหนะที่เข้ามาในราชอาณาจักร ยื่นเอกสารต่อเจ้าพนักงานสาธารณสุขประจำด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่าง ประเทศ ตามแบบและวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

 

(3)

ห้ามผู้ใดนำพาหนะอื่นใด เข้าเทียบพาหนะที่เดินทางเข้ามาใน ราชอาณาจักร ซึ่งยังไม่ได้รับการตรวจจากเจ้าพนักงานสาธารณสุข และห้าม ผู้ใดเข้าไปในหรือออกจากพาหนะนั้น เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน สาธารณสุขประจำด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ

 

(4)

เข้าไปในพาหนะและตรวจผู้ เดินทาง สิ่งของหรือสัตว์ที่มากับ พาหนะ ตรวจตราและควบคุมให้เจ้าของพาหนะหรือผู้ควบคุมพาหนะแก้ไขการ สุขาภิบาลของพาหนะให้ถูกสุขลักษณะ รวมทั้งกำจัดสิ่งอันอาจเป็นอันตราย ต่อสุขภาพในพาหนะ ในการนี้ให้เจ้าของพาหนะหรือผู้ควบคุมพาหนะอำนวย ความสะดวกแก่เจ้าพนักงานสาธารณสุขประจำด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ

 

(5)

ห้ามเจ้าของพาหนะหรือผู้ควบคุมพาหนะนำผู้เดินทางซึ่งไม่ได้รับ การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคตามที่รัฐมนตรีประกาศเข้ามาในราชอาณาจักร

 

(6)

ตรวจตรา ควบคุม ให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบท่าอากาศยาน ท่าเรือ หรือท่าขนส่งทางบก แก้ไขการสุขาภิบาลให้ถูกสุขลักษณะ รวมทั้งกำจัดสิ่งอัน อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพในสถานที่และบริเวณดังกล่าว

 

(7)

ตรวจตรา ควบคุม ให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบท่าอากาศยาน ท่าเรือ หรือท่าขนส่งทางบก ทำการควบคุม กำจัดยุง และพาหะนำโรค ในสถานที่ และบริเวณรอบท่าอากาศยาน ท่าเรือ หรือท่าขนส่งทางบก ในรัศมีสี่ร้อยเมตร ในการนี้ให้เจ้าของหรือผู้อยู่ในบ้าน โรงเรือน หรือสถานที่ในบริเวณดังกล่าว อำนวยความสะดวกในการควบคุมกำจัดยุงและพาหะนำโรค

 

(8)

ตรวจตรา ควบคุมการสุขาภิบาลเกี่ยวกับอาหาร น้ำแข็ง เครื่องดื่มหรือน้ำ ให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบสถานที่ ทำ ประกอบ ปรุง จับต้อง บรรจุ เก็บ สะสม จำหน่ายอาหาร น้ำแข็ง เครื่องดื่ม หรือน้ำที่นำเข้าไป หรือจะนำเข้าไปในบริเวณท่าอากาศยาน ท่าเรือ หรือท่าขนส่งทางบก ให้ถูกสุขลักษณะ หรือแก้ไขการสุขาภิบาลเกี่ยวกับอาหาร น้ำแข็ง เครื่องดื่มหรือน้ำ ตลอดถึงสถานที่ดังกล่าวให้ถูกสุขลักษณะ

 

 

  

   

มาตรา 14

เมื่อมีโรคติดต่ออันตราย เกิดขึ้นในท้องที่หรือเมืองท่าใด ในต่างประเทศ ให้รัฐมนตรีหรือผู้ซึ่งรัฐมนตรีมอบหมายมีอำนาจประกาศให้ ท้องที่หรือเมืองท่านั้นเป็นเขตติดโรค เมื่อได้ประกาศแล้วให้เจ้าพนักงาน สาธารณสุขประจำด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศมีอำนาจดำเนินการเอง หรือออกคำสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าของพาหนะหรือผู้ควบคุมพาหนะที่เข้ามาใน ราชอาณาจักรจากท้องที่หรือเมืองท่านั้น ดำเนินการดังต่อไปนี้

 

(1)

ดำเนินการหรือกำหนดให้ปฏิบัติการใด ๆ เพื่อกำจัดความติดโรค และเพื่อป้องกันการแพร่หลายของโรค

 

(2)

จัดให้พาหนะจอดอยู่ ณ สถานที่ที่กำหนดให้จนกว่าเจ้าพนักงาน สาธารณสุขจะอนุญาตให้ไปได้

 

(3)

ให้ผู้เดินทางซึ่งมากับ พาหนะนั้นรับการตรวจในทางแพทย์ และ อาจให้แยกกัก กักกัน คุมไว้สังเกต หรือรับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ณ สถานที่ที่กำหนดให้

 

(4)

ห้ามผู้ใดเข้าไปในหรือออกจากพาหนะนั้น หรือที่เอกเทศ เว้นแต่ ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานสาธารณสุข

 

(5)

ห้ามผู้ใดนำเครื่องอุปโภค บริโภค น้ำดื่ม หรือน้ำใช้ซึ่งเป็นหรือ มีเหตุสงสัยว่าเป็นสิ่งติดโรคเข้าไปในหรือออกจากพาหนะนั้น เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานสาธารณสุข

 

 

กลับสู่ด้านบน>>

   

มาตรา 15

ให้เจ้าของพาหนะหรือผู้ ควบคุมพาหนะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย ในการขนส่งผู้เดินทางซึ่งมากับพาหนะนั้น เพื่อแยกกัก กักกัน คุมไว้สังเกต หรือรับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ตลอดทั้งค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดู การรักษาพยาบาล การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ 

  

   

มาตรา 16

ใน กรณีที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขได้ออกคำสั่งให้ผู้ใด ดำเนินการตาม มาตรา 8 (4) (5) (6) หรือ (7) มาตรา 10 (4) มาตรา 13 (4) (6) (7) หรือ (8) หรือ มาตรา 14 (1) (2) หรือ (3) แล้ว ผู้นั้นละเลยไม่ดำเนินการตามคำสั่งภายในเวลาที่กำหนด เจ้าพนักงานสาธารณสุขมีอำนาจดำเนินการแทนได้ โดยให้ผู้นั้นชดใช้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการนั้นตามจำนวนที่จ่ายจริง ทั้งนี้ตามระเบียบที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด 

  

   

มาตรา 17

ผู้ใดไม่ปฏิบัติตาม มาตรา 7 หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานสาธารณสุขตาม มาตรา 8 (1) (2) (3) (7) (8) (9) (10) (11) หรือ (12) มาตรา 13 มาตรา 14 (5) หรือไม่ให้ความสะดวกแก่เจ้าพนักงานสาธารณสุขตาม มาตรา 13 (4) หรือ (7) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท  

  

   

มาตรา 18

ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ ปฏิบัติตามประกาศหรือคำสั่งของ เจ้าพนักงานสาธารณสุข ตาม มาตรา 8 (4) (5) หรือ (6) มาตรา 9 มาตรา 10 หรือ มาตรา 14 (3) หรือ (4) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน หกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

กลับสู่ด้านบน>>

   

มาตรา 19

ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศของผู้ว่าราชการจังหวัดตาม มาตรา 12 วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท 

  

   

มาตรา 20

เจ้าของพาหนะหรือผู้ควบ คุมพาหนะผู้ใดไม่ปฏิบัติตาม คำสั่งของเจ้าพนักงานสาธารณสุขตาม มาตรา 14 (2) ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 

  

   

มาตรา 21

ให้บรรดากฎกระทรวง ประกาศ และคำสั่งที่ออก ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พุทธศักราช 2477 พระราชบัญญัติโรคติดต่อ (ฉบับที่ 3) พุทธศักราช 2482 พระราชบัญญัติไข้จับสั่น พุทธศักราช 2485 และพระราชบัญญัติโรคเรื้อน พุทธศักราช 2486 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษายังคงใช้ บังคับต่อไปได้เท่าที่ ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติในพระราชบัญญัตินี้ จนกว่าจะมีกฎกระทรวง ประกาศ และคำสั่งที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ 

  

   

มาตรา 22

ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวง สาธารณสุขรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ กับให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ออกกฎกระทรวง และกำหนดกิจการอื่นเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

  

   

 

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ป. ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี

   

 

หมายเหตุ
เหตุผล ในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พุทธศักราช 2477 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติโรคติดต่อ (ฉบับที่ 3) พุทธศักราช 2482 พระราชบัญญัติไข้จับสั่น พุทธศักราช 2485 และพระราชบัญญัติโรคเรื้อน พุทธศักราช 2486 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนี้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการควบคุมและป้องกันโรค ติดต่อยังไม่รัดกุมและเหมาะสมกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน สมควรที่จะได้มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายดังกล่าวเสียใหม่โดยรวมเป็นพระราช บัญญัติฉบับเดียวกัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น

  

 

โรคติดต่อและอาการสำคัญ

ชื่อโรคติดต่ออันตราย

ชื่อโรคติดต่อต้องแจ้งความ

12 โรค อันตราย

แต่งตั้งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558

ระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยคุณสมบัติ หลักเกณฑ์ และวิธีการได้มาซึ่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒฺิในคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ พ.ศ. 2559

ประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการแต่งตั้ง วาระการดํารงตําแหน่ง และการพ้นจากตําแหน่งของ กรรมการโรคติดต่อจังหวัดและกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2559

ประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อ พ.ศ. 2559

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสําคัญของโรคติดต่ออันตราย พ.ศ. 2559

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง พ.ศ. 2559

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ พ.ศ. 2559

หลักสูตรการฝึกอบรมสำหรับผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่ในหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติตด่อ พ.ศ. 2560

88/21 สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค ถ.ติวานนท์ ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 โทรศัพท์. 02 5903162 อีเมล์ mophbgcd2019@gmail.com
Copyright @ 2013 www.thaigcd.ddc.moph.go.th All Rights Reserved. PrivacyPolicy | WebsitePolicy | WebsiteSecurityPolicy
Valid XHTML 1.0 Strict thaiwebaccessibility.com
Back to Top