
- ชมรมเลปโตสไปโรสิสฯ
- ศูนย์เด็กเล็กปลอดโรค
- ข่าวสารสำหรับประชาชนเรื่องโรคติดต่อทั่วไปและภัยสุขภาพ
- ข่าวประชาสัมพันธ์
- จัดซื้อ/จัดจ้าง/เสนอแนะวิจารณ์
- สถานการณ์โรค
- คำรับรองการปฏิบัติราชการ
- ผลการดำเนินงาน
- KM สำนัก ต.
- เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 2559
- ปฏิทินกิจกรรม
- ภาพกิจกรรม
- สื่อ-สิ่งพิมพ์เผยแพร่
- สื่อมัลติมีเดีย
- เว็บลิงค์
- ถาม - ตอบ ข้อสงสัยเกี่ยวกับเว็บสำนักโรคติดต่อทั่วไป
- e-learning
- English Zone
- gcd_cars and drivers
- แบบฟอร์ม


พยาธิในปลาร้า 23 ก.ค. 2558 - 1373 ครั้ง
ปลาที่นำมาทำปลาร้า เช่น ปลาขาวนา ปลาหนามหลัง ปลาขาวมน ปลาตะเพียน ปลาสร้อยนกเขาปลาแก้มช้ำ ปลากระสูบ และปลาอื่นๆในจำพวกปลาตะเพียน เป็นกลุ่มปลาที่เป็นโฮสต์พยาธิใบไม้ตับและพยาธิใบไม้ลำไส้ขนาดเล็ก โดยเฉพาะพยาธิใบไม้ตับ ซึ่งพบระบาดมากในประเทศไทย และมีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งท่อน้ำดี หากรับประทานปลาเหล่านี้แบบสุกๆดิบๆ ก็มีโอกาสติดพยาธิใบไม้ตับและเป็นโรคมะเร็งท่อน้ำดีได้
จากงานวิจัยพบว่า พยาธิจะสามารถอาศัยอยู่ในเนื้อปลาได้ 10-20 วัน หากเก็บเนื้อปลาไว้ในตู้เย็น หรือ ผ่านการหหมักด้วยเกลือทะเล 10 กรัม ต่อปลา 3 กรัม แล้วเก็บไว้ที่อุณหภูมิ 26 องศาเซลเซียส ตัวอ่อนพยาธิจะมีชีวิตอยู่นาน 15 วัน แต่หากเป็นเกลือในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและเกลือในภาคเหนือ ตัวอ่อนพยาธิในปลาร้าอยู่ได้ 1 เดือน หากเกิน 6 เดือนถือว่าปลอดภัยที่สุด
ดังนั้นการรับประทานปลาร้า ปลาจ่อม ปลาสัม ที่ผ่านการหมักไม่นานและความเค็มของเกลือน้อย ก็มีโอกาสติดพยาธิใบไม้ตับสูงมาก แต่หากหมักด้วยเกลือและใช้เวลาหมักนานเกิน 1- 6 เดือน จะปลอดภัยจากพยาธิใบไม้ตับ อย่างไรก็ตาม หากรับประทานปลาร้าดิบก็ถือว่ายังมีความเสี่ยง เพราะถึงแม้จะไม่ติดพยาธิใบไม้ตับ แต่มีโอกาสติดเชื้อแบคทีเรียได้ โดย ดร.ฐิติมา วงศาโรจน์ สำนักโรติดต่อทั่วไป


โดย Administrator
กลุ่มงาน
เรตติ้ง