ประกาศกระทรวงสาธารณสุข
|
อาศัยอำนาจตามความใน มาตรา 5 และมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2523 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและ เสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบมาตรา 31 มาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบท บัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขจึงให้ปรับปรุงแก้ไขและให้ประกาศกำหนดขึ้น ใหม่ซึ่งชื่อโรคติดต่อต้องแจ้งความ ดังนี้ |
|
|
1. |
อหิวาตกโรค (Cholera) |
2. |
กาฬโรค (Plague) |
3. |
ไข้ทรพิษ (Variola หรือ Smallpox) |
4. |
ไข้เหลือง (Yellow fever) |
5. |
ไข้กาฬหลังแอ่น (Meningococcal Meningitis) |
6. |
คอตีบ (Diphtheria) |
7. |
โรคบาดทะยักในทารกแรกเกิด (Tetanus neonatorum) |
8. |
โปลิโอ (Poliomyelitis) |
9. |
ไข้หวัดใหญ่ (Influenza) ซึ่งรวมถึงไข้หวัดใหญ่ที่ติดต่อมาจากสัตว์ |
10. |
ไข้สมองอักเสบ (Encephalitis) |
11. |
โรคพิษสุนัขบ้า (Rabies) |
12. |
ไข้รากสาดใหญ่ (Typhus) |
13. |
วัณโรค (Tuberculosis) |
14. |
แอนแทร็กซ์ (Anthrax) |
15. |
โรคทริคิโนซิส (Trichinosis) |
16. |
โรคคุดทะราด (Yaws) เฉพาะในระยะติดต่อ |
17. |
โรคอัมพาตกล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียกอย่างเฉียบพลันในเด็ก (Acute flaccid paralysis) |
18. |
โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (หรือโรคซาร์ส – Severs Acute Respiratory Syndrome) |
|
|
ให้ยกเลิก การประกาศกำหนดชื่อโรคติดต่อต้องแจ้งความ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ลงวันที่ 18 ธันวาคม 2524 วันที่ 20 มกราคม 2541 วันที่ 30 มีนาคม 2546 และวันที่ 26 มกราคม 2547
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป [1] ประกาศ ณ วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2547 สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ----------------------------------------------------------------------- [1] รก.2547 / พ 126ง / 22 / 9 พฤศจิกายน 2547 |
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
|
พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2523" |
|
|
|
มาตรา 2 |
พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป |
|
|
|
ให้ยกเลิก |
|
(1) |
พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พุทธศักราช 2477 |
|
(2) |
พระราชบัญญัติโรคติดต่อ (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2479 |
|
(3) |
พระราชบัญญัติโรคติดต่อ (ฉบับที่ 3) พุทธศักราช 2482 |
|
(4) |
พระราชบัญญัติไข้จับสั่น พุทธศักราช 2485 |
|
(5) |
พระราชบัญญัติโรคเรื้อน พุทธศักราช 2486 |
|
บรรดากฎหมาย กฎ และข้อบังคับอื่นที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน |
|
|
|
ในพระราชบัญญัตินี้ |
|
(1) |
"โรคติดต่อ" หมายความว่า โรคซึ่งรัฐมนตรีประกาศตาม มาตรา 5 ให้เป็นโรคติดต่อ และให้หมายความรวมถึงโรคซึ่งรัฐมนตรีหรือ ผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศตาม มาตรา 6 วรรคสอง ให้เป็นโรคติดต่อด้วย |
|
(2) |
"โรคติดต่ออันตราย" หมายความว่า โรคติดต่อซึ่งรัฐมนตรี ประกาศตาม มาตรา 5 ให้เป็นโรคติดต่ออันตราย |
|
(3) |
"โรคติดต่อต้องแจ้งความ" หมายความว่า โรคติดต่อซึ่งรัฐมนตรี ประกาศตาม มาตรา 5 ให้เป็นโรคติดต่อต้องแจ้งความ และให้หมายความรวมถึงโรคติดต่อตาม มาตรา 5 ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศตาม มาตรา 6 วรรคหนึ่ง หรือโรคซึ่งรัฐมนตรีหรือผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศตาม มาตรา 6 วรรคสอง ให้เป็นโรคติดต่อต้องแจ้งความด้วย |
|
(4) |
"พาหะ" หมายความว่า คนหรือสัตว์ซึ่งไม่มีอาการของโรคติดต่อ ปรากฏ แต่ร่างกายมีเชื้อโรคนั้นซึ่งอาจติดต่อถึงผู้อื่นได้ |
|
(5) |
"ผู้สัมผัสโรค" หมายความว่า คนซึ่งได้เข้าใกล้ชิดคน สัตว์ หรือ สิ่งของติดโรค จนเชื้อโรคนั้นอาจติดต่อถึงผู้นั้นได้ |
|
(6) |
"ระยะฟักตัวของโรค" หมายความว่า ระยะเวลาตั้งแต่เชื้อโรค เข้าสู่ร่างกาย จนถึงเวลาที่ผู้ติดโรคแสดงอาการป่วยของโรคนั้น |
|
(7) |
"ระยะติดต่อของโรค" หมายความว่า ระยะเวลาที่เชื้อโรค สามารถจะแพร่จากคนหรือสัตว์ที่มีเชื้อโรคไปยังผู้อื่นได้ โดยทางตรงหรือ ทางอ้อม |
|
(8) |
"แยกกัก" หมายความว่า การแยกผู้สัมผัสโรคหรือพาหะ ออกไว้ต่างหากจากผู้อื่นในที่เอกเทศ และตามภาวะอันจะป้องกันมิให้เชื้อโรคแพร่หลาย โดยทางตรงหรือทางอ้อมไปยังผู้ซึ่งอาจได้รับเชื้อโรคนั้น ๆ ได้ จนกว่าจะพ้นระยะติดต่อของโรค |
|
(9) |
"กักกัน" หมายความว่า การควบคุมผู้สัมผัสโรคหรือพาหะ ให้อยู่ในที่เอกเทศจนกว่าจะพ้นระยะฟักตัวของโรคนั้น ๆ หรือจนกว่าจะพ้นความ เป็นพาหะ |
(10) | "คุม ไว้สังเกต" หมายความว่า การควบคุมดูแลผู้สัมผัสโรค หรือพาหะ โดยไม่กักกัน และอาจจะอนุญาตให้ผ่านไปในที่ใด ๆ ก็ได้ โดยมีเงื่อนไขว่าเมื่อไปถึงท้องที่ใดที่กำหนดไว้ ผู้นั้นต้องแสดงตัวต่อเจ้าพนักงานสาธารณสุขประจำท้องที่นั้น เพื่อรับการตรวจในทางแพทย์ | |
(11) | "เขต ติดโรค" หมายความว่า ท้องที่หนึ่งท้องที่ใด ในหรือนอกราชอาณาจักรที่มีโรคติดต่อเกิดขึ้น ตามที่รัฐมนตรีหรือผู้ว่าราชการจังหวัด ประกาศในท้องที่นั้น ๆ เป็นเขตติดโรค | |
(12) | "พาหนะ" หมายความว่า ยาน สัตว์ หรือวัตถุ ซึ่งใช้ในการขนส่งคน สัตว์ หรือสิ่งของ ทางบก ทางน้ำ หรือทางอากาศ | |
(13) | "เจ้าของพาหนะ" หมายความรวมถึง ตัวแทน เจ้าของ ผู้เช่า ตัวแทนผู้เช่าหรือผู้ครอบครอง | |
(14) | "ผู้ควบคุมพาหนะ" หมายความว่า ผู้รับผิดชอบในการควบคุมพาหนะ | |
(15) | "ผู้เดินทาง" หมายความว่า คนซึ่งเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร รวมทั้งผู้ควบคุมพาหนะและคนประจำพาหนะ | |
(16) | "การ สร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค" หมายความว่า การกระทำทางการแพทย์โดยวิธีใด ๆ ก็ตาม ต่อคนหรือสัตว์เพื่อให้คนหรือสัตว์นั้น เกิดอำนาจต้านทานโรค | |
(17) | "ที่ เอกเทศ" หมายความว่า ที่ใด ๆ ซึ่งเจ้าพนักงานสาธารณสุข กำหนดให้เป็นที่สำหรับแยกกัก หรือกักกันคนหรือสัตว์ที่ป่วย หรือมีเหตุสงสัยป่วยด้วยโรคติดต่อใด ๆ เพื่อป้องกันและควบคุมมิให้โรคนั้นแพร่หลาย | |
(18) | "เจ้า พนักงานสาธารณสุข" หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับ แต่งตั้งให้มีหน้าที่ตรวจตรา ดูแล และรับผิดชอบในการสาธารณสุขโดยทั่วไป หรือเฉพาะในท้องที่ใดท้องที่หนึ่ง | |
(19) | "พนักงานเจ้าหน้าที่" หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ | |
|
(20) |
"รัฐมนตรี" หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ |
|
|
|
โรคใดจะเป็นโรคติดต่อ โรคติดต่ออันตราย หรือโรคติดต่อต้องแจ้งความ ให้รัฐมนตรีประกาศชื่อและอาการสำคัญของโรคไว้ในราชกิจจานุเบกษา |
|
|
|
ในกรณีจำเป็นและสมควรให้ ผู้ว่าราชการจังหวัด มีอำนาจประกาศกำหนดให้โรคติดต่อซึ่งรัฐมนตรีประกาศตาม มาตรา 5 เป็นโรคติดต่อต้องแจ้งความเฉพาะในเขตของตน |
|
|
|
ในกรณีที่มีโรคติดต่อ อันตราย หรือโรคติดต่อต้องแจ้งความเกิดขึ้น หรือมีเหตุสงสัยว่าได้มีโรคติดต่อดังกล่าวเกิดขึ้น ให้บุคคลดังต่อไปนี้ แจ้งต่อเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ |
|
(1) |
ในกรณีมีการป่วยหรือมี เหตุสงสัยว่าได้มีการป่วยโดยโรคติดต่อดังกล่าวเกิดขึ้นในบ้าน ให้เป็นหน้าที่ของเจ้าบ้าน หรือของผู้ควบคุมดูแลบ้าน หรือของแพทย์ผู้ทำการรักษาพยาบาล |
|
(2) |
ในกรณีมีการป่วยหรือมี เหตุสงสัยว่าได้มีการป่วยด้วยโรคติดต่อดังกล่าวเกิดขึ้นในสถานพยาบาล ให้เป็นหน้าที่ของผู้รับผิดชอบในสถานพยาบาลนั้น |
|
(3) |
ในกรณีที่ได้มีการชันสูตร ทางแพทย์ตรวจพบว่าอาจมีเชื้อ อันเป็นเหตุของโรคติดต่อดังกล่าว ให้เป็นหน้าที่ของผู้ทำการชันสูตรทางแพทย์ หรือ ของผู้รับผิดชอบในสถานที่ที่ได้มีการชันสูตรทางแพทย์นั้น |
|
(4) |
หลักเกณฑ์ และวิธีการแจ้งตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง |
|
|
|
เมื่อปรากฏแก่เจ้าพนักงาน สาธารณสุขว่าได้เกิด หรือ มีเหตุสงสัยว่า ได้เกิดโรคติดต่ออันตรายอย่างใดเกิดขึ้นในบ้าน โรงเรือน สถานที่ หรือพาหนะใด ให้เจ้าพนักงานสาธารณสุขมีอำนาจที่จะดำเนินการเอง ประกาศหรือออกคำสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ใดดำเนินการดังต่อไปนี้ได้ |
|
(1) |
ให้คนหรือสัตว์ซึ่งป่วย หรือมีเหตุสงสัยว่าป่วย เป็นโรคติดต่ออันตราย เป็นผู้สัมผัสโรค หรือเป็นพาหะของโรคติดต่ออันตราย มารับการตรวจ การชันสูตร ทางแพทย์ หรือการรักษา หรือคุมไว้สังเกต ณ สถานที่ซึ่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขกำหนด |
|
(2) |
กักกันหรือคุมไว้สังเกตซึ่งคนหรือสัตว์ซึ่งเป็นหรือมีเหตุสงสัยว่า เป็นผู้สัมผัสโรคหรือพาหะ |
|
(3) |
ให้คนหรือสัตว์รับการป้องกัน ตามวัน เวลา และสถานที่ซึ่ง เจ้าพนักงานสาธารณสุขกำหนด |
|
(4) |
ดำเนินการหรือให้เจ้าของ หรือผู้อยู่ในบ้าน โรงเรือน สถานที่ หรือพาหนะใดที่โรคติดต่ออันตรายได้เกิดขึ้น จัดการกำจัดความติดโรคหรือ ทำลายสิ่งใด ๆ หรือสัตว์ที่มีเหตุเชื่อได้ว่าเป็นสิ่งติดโรค จนกว่าเจ้าพนักงาน สาธารณสุขจะเห็นว่าปราศจากความติดโรค และได้ถอนคำสั่งนั้นแล้ว |
|
(5) |
ดำเนินการหรือให้เจ้าของ หรือผู้อยู่ในบ้าน โรงเรือน สถานที่ หรือพาหนะใดที่โรคติดต่ออันตรายได้เกิดขึ้น จัดการแก้ไข ปรับปรุงการ สุขาภิบาล หรือรื้อถอนสิ่งที่ไม่ถูกสุขลักษณะ หรือจัดให้มีขึ้นใหม่ให้ถูก สุขลักษณะ |
|
(6) |
ให้นำศพหรือซากสัตว์ซึ่ง ปรากฏหรือมีเหตุสงสัยว่าตายด้วย โรคติดต่ออันตรายไปรับการตรวจ หรือจัดการทางแพทย์ หรือจัดการแก่ศพ หรือซากสัตว์นั้นด้วยประการอื่นใด เพื่อป้องกันการแพร่หลายของโรค |
|
(7) |
ดำเนินการหรือกำหนดให้ปฏิบัติการเพื่อป้องกัน กำจัด สัตว์ หรือแมลง หรือตัวอ่อนของแมลงที่เป็นเหตุให้เกิดโรค |
|
(8) |
ดำเนินการหรือกำหนดให้ ปฏิบัติในการ ทำ ประกอบ ปรุง จับต้อง บรรจุ เก็บ สะสม จำหน่ายอาหาร น้ำแข็ง เครื่องดื่มหรือน้ำเพื่อ ป้องกันการแพร่หลายของโรค |
|
(9) |
จัดหาและให้เครื่องอุปโภคบริโภค รวมทั้งเวชภัณฑ์หรือเคมีภัณฑ์ เพื่อป้องกันการแพร่หลายของโรค |
|
(10) |
จัดหาน้ำที่ถูกสุขลักษณะไว้ในบ้าน โรงเรือน สถานที่ หรือ พาหนะ |
|
(11) |
ห้ามกระทำการใด ๆ อันน่าจะเป็นเหตุให้เกิดภาวะไม่ถูก สุขลักษณะแก่ถนนหนทาง บ้าน โรงเรือน สถานที่ พาหนะ หรือที่สาธารณะอื่นใด |
|
(12) |
ห้ามกระทำการใด ๆ อันอาจจะเป็นเหตุให้โรคแพร่หลาย |
|
|
|
ในกรณีที่เจ้าพนักงาน สาธารณสุขได้ออกคำสั่งประกาศตามมาตรา 8 ให้ปิดประกาศนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ สถานที่แยกกัก สถานที่กักกัน บ้าน โรงเรือน สถานที่หรือพาหนะที่ผู้ป่วยอาศัยหรือพักอยู่ และหรือบริเวณที่ใกล้เคียง ตลอดเวลาที่คำสั่งตามประกาศนั้นยังคงใช้บังคับอยู่ ห้ามผู้ใดนอกจากเจ้าพนักงานสาธารณสุขเข้าไปในหรือออกจากสถานที่แยกกัก สถานที่กักกัน บ้าน โรงเรือน สถานที่หรือพาหนะ ที่ผู้ป่วยอาศัยหรือ พักอยู่หรือย้ายสิ่งของใด ๆ ออกจากที่นั้น เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานสาธารณสุข |
|
|
|
เมื่อมีโรคติดต่ออันตราย เกิดขึ้นหรือน่าจะเกิดขึ้นในท้องที่ใด รัฐมนตรีหรือผู้ว่าราชการจังหวัดเฉพาะในเขตของตน มีอำนาจประกาศโดยระบุชื่อและอาการสำคัญของโรค ตำบล หมู่บ้านหรือสถานที่ใด เป็นเขตติดโรค และจะกำหนดปริมณฑลโดยรอบไว้เป็นเขตติดโรคด้วยก็ได้ |
|
(1) |
ปฏิบัติการใด ๆ ตามที่กำหนดไว้ใน มาตรา 8 |
|
(2) |
ห้ามผู้ใดเข้าไปในหรือออกจากเขตติดโรคหรือที่เอกเทศ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานสาธารณสุข |
|
(3) |
เข้าไปในบ้าน โรงเรือน สถานที่ หรือพาหนะใด ที่เกิดหรือ มีเหตุสงสัยว่าเกิดโรคได้ โดยมิต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า แต่ต้องกระทำใน ภาวะอันสมควร |
|
(4) |
รื้อถอน ทำลาย หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงตามความจำเป็น ซึ่งบ้าน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง สถานที่ พาหนะ หรือสิ่งของใด ๆ เพื่อป้องกันการแพร่หลายของโรค |
|
(5) |
ปิดตลาด โรงมหรสพ สถานศึกษา สถานที่ประกอบหรือจำหน่ายอาหาร สถานที่ผลิตหรือจำหน่ายเครื่องดื่ม โรงงาน สถานที่ชุมนุมชน หรือ สถานที่อื่นใดไว้ชั่วคราวตามที่เห็นสมควรเพื่อป้องกันการแพร่หลายของโรค |
|
(6) |
ห้ามคนซึ่งป่วยหรือมีเหตุ สงสัยว่าป่วยเป็นโรคติดต่ออันตราย ประกอบอาชีพใด ๆ หรือเข้าไปในสถานศึกษา สถานที่ชุมนุมชนหรือสถานที่อื่นใด เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานสาธารณสุข |
|
|
|
เมื่อโรคติดต่อต้องแจ้ง ความเกิดขึ้นในบ้าน โรงเรือน สถานที่ พาหนะหรือท้องที่ใด ถ้าเจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นว่าโรคติดต่อดังกล่าวจะระบาดต่อไป ให้มีอำนาจปฏิบัติการใด ๆ ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 8 และมาตรา 10 ได้โดยอนุโลม |
|
|
เพื่อป้องกันมิให้ โรคติดต่อใดเกิดหรือแพร่หลาย ให้รัฐมนตรีมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้บุคคลต้องได้รับการสร้างเสริม ภูมิคุ้มกันโรค
|
ในการป้องกันและควบคุมโรค ติดต่อระหว่างประเทศ ให้ช่องทางและด่านตรวจคนเข้าเมืองตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองเป็น ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ เมื่อมีเหตุอันสมควรให้เจ้าพนักงาน สาธารณสุขประจำด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศมีอำนาจ ดังต่อไปนี้ |
|
(1) |
ให้เจ้าของพาหนะหรือผู้ ควบคุมพาหนะแจ้งกำหนดวัน เวลา และสถานที่ที่พาหนะนั้น ๆ จะเข้ามาถึงท่าอากาศยาน ท่าเรือ หรือท่าขนส่ง ทางบก ต่อเจ้าพนักงานสาธารณสุขประจำด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ ตามวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง |
|
(2) |
ให้เจ้าของพาหนะหรือผู้ ควบคุมพาหนะที่เข้ามาในราชอาณาจักร ยื่นเอกสารต่อเจ้าพนักงานสาธารณสุขประจำด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่าง ประเทศ ตามแบบและวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง |
|
(3) |
ห้ามผู้ใดนำพาหนะอื่นใด เข้าเทียบพาหนะที่เดินทางเข้ามาใน ราชอาณาจักร ซึ่งยังไม่ได้รับการตรวจจากเจ้าพนักงานสาธารณสุข และห้าม ผู้ใดเข้าไปในหรือออกจากพาหนะนั้น เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน สาธารณสุขประจำด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ |
|
(4) |
เข้าไปในพาหนะและตรวจผู้ เดินทาง สิ่งของหรือสัตว์ที่มากับ พาหนะ ตรวจตราและควบคุมให้เจ้าของพาหนะหรือผู้ควบคุมพาหนะแก้ไขการ สุขาภิบาลของพาหนะให้ถูกสุขลักษณะ รวมทั้งกำจัดสิ่งอันอาจเป็นอันตราย ต่อสุขภาพในพาหนะ ในการนี้ให้เจ้าของพาหนะหรือผู้ควบคุมพาหนะอำนวย ความสะดวกแก่เจ้าพนักงานสาธารณสุขประจำด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ |
|
(5) |
ห้ามเจ้าของพาหนะหรือผู้ควบคุมพาหนะนำผู้เดินทางซึ่งไม่ได้รับ การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคตามที่รัฐมนตรีประกาศเข้ามาในราชอาณาจักร |
|
(6) |
ตรวจตรา ควบคุม ให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบท่าอากาศยาน ท่าเรือ หรือท่าขนส่งทางบก แก้ไขการสุขาภิบาลให้ถูกสุขลักษณะ รวมทั้งกำจัดสิ่งอัน อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพในสถานที่และบริเวณดังกล่าว |
|
(7) |
ตรวจตรา ควบคุม ให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบท่าอากาศยาน ท่าเรือ หรือท่าขนส่งทางบก ทำการควบคุม กำจัดยุง และพาหะนำโรค ในสถานที่ และบริเวณรอบท่าอากาศยาน ท่าเรือ หรือท่าขนส่งทางบก ในรัศมีสี่ร้อยเมตร ในการนี้ให้เจ้าของหรือผู้อยู่ในบ้าน โรงเรือน หรือสถานที่ในบริเวณดังกล่าว อำนวยความสะดวกในการควบคุมกำจัดยุงและพาหะนำโรค |
|
(8) |
ตรวจตรา ควบคุมการสุขาภิบาลเกี่ยวกับอาหาร น้ำแข็ง เครื่องดื่มหรือน้ำ ให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบสถานที่ ทำ ประกอบ ปรุง จับต้อง บรรจุ เก็บ สะสม จำหน่ายอาหาร น้ำแข็ง เครื่องดื่ม หรือน้ำที่นำเข้าไป หรือจะนำเข้าไปในบริเวณท่าอากาศยาน ท่าเรือ หรือท่าขนส่งทางบก ให้ถูกสุขลักษณะ หรือแก้ไขการสุขาภิบาลเกี่ยวกับอาหาร น้ำแข็ง เครื่องดื่มหรือน้ำ ตลอดถึงสถานที่ดังกล่าวให้ถูกสุขลักษณะ |
|
|
|
เมื่อมีโรคติดต่ออันตราย เกิดขึ้นในท้องที่หรือเมืองท่าใด ในต่างประเทศ ให้รัฐมนตรีหรือผู้ซึ่งรัฐมนตรีมอบหมายมีอำนาจประกาศให้ ท้องที่หรือเมืองท่านั้นเป็นเขตติดโรค เมื่อได้ประกาศแล้วให้เจ้าพนักงาน สาธารณสุขประจำด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศมีอำนาจดำเนินการเอง หรือออกคำสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าของพาหนะหรือผู้ควบคุมพาหนะที่เข้ามาใน ราชอาณาจักรจากท้องที่หรือเมืองท่านั้น ดำเนินการดังต่อไปนี้ |
|
(1) |
ดำเนินการหรือกำหนดให้ปฏิบัติการใด ๆ เพื่อกำจัดความติดโรค และเพื่อป้องกันการแพร่หลายของโรค |
|
(2) |
จัดให้พาหนะจอดอยู่ ณ สถานที่ที่กำหนดให้จนกว่าเจ้าพนักงาน สาธารณสุขจะอนุญาตให้ไปได้ |
|
(3) |
ให้ผู้เดินทางซึ่งมากับ พาหนะนั้นรับการตรวจในทางแพทย์ และ อาจให้แยกกัก กักกัน คุมไว้สังเกต หรือรับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ณ สถานที่ที่กำหนดให้ |
|
(4) |
ห้ามผู้ใดเข้าไปในหรือออกจากพาหนะนั้น หรือที่เอกเทศ เว้นแต่ ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานสาธารณสุข |
|
(5) |
ห้ามผู้ใดนำเครื่องอุปโภค บริโภค น้ำดื่ม หรือน้ำใช้ซึ่งเป็นหรือ มีเหตุสงสัยว่าเป็นสิ่งติดโรคเข้าไปในหรือออกจากพาหนะนั้น เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานสาธารณสุข |
|
|
ให้เจ้าของพาหนะหรือผู้ ควบคุมพาหนะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย ในการขนส่งผู้เดินทางซึ่งมากับพาหนะนั้น เพื่อแยกกัก กักกัน คุมไว้สังเกต หรือรับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ตลอดทั้งค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดู การรักษาพยาบาล การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ
|
ใน กรณีที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขได้ออกคำสั่งให้ผู้ใด ดำเนินการตาม มาตรา 8 (4) (5) (6) หรือ (7) มาตรา 10 (4) มาตรา 13 (4) (6) (7) หรือ (8) หรือ มาตรา 14 (1) (2) หรือ (3) แล้ว ผู้นั้นละเลยไม่ดำเนินการตามคำสั่งภายในเวลาที่กำหนด เจ้าพนักงานสาธารณสุขมีอำนาจดำเนินการแทนได้ โดยให้ผู้นั้นชดใช้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการนั้นตามจำนวนที่จ่ายจริง ทั้งนี้ตามระเบียบที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
|
ผู้ใดไม่ปฏิบัติตาม มาตรา 7 หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานสาธารณสุขตาม มาตรา 8 (1) (2) (3) (7) (8) (9) (10) (11) หรือ (12) มาตรา 13 มาตรา 14 (5) หรือไม่ให้ความสะดวกแก่เจ้าพนักงานสาธารณสุขตาม มาตรา 13 (4) หรือ (7) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท
|
ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ ปฏิบัติตามประกาศหรือคำสั่งของ เจ้าพนักงานสาธารณสุข ตาม มาตรา 8 (4) (5) หรือ (6) มาตรา 9 มาตรา 10 หรือ มาตรา 14 (3) หรือ (4) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน หกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ |
ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศของผู้ว่าราชการจังหวัดตาม มาตรา 12 วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท
|
เจ้าของพาหนะหรือผู้ควบ คุมพาหนะผู้ใดไม่ปฏิบัติตาม คำสั่งของเจ้าพนักงานสาธารณสุขตาม มาตรา 14 (2) ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
|
ให้บรรดากฎกระทรวง ประกาศ และคำสั่งที่ออก ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พุทธศักราช 2477 พระราชบัญญัติโรคติดต่อ (ฉบับที่ 3) พุทธศักราช 2482 พระราชบัญญัติไข้จับสั่น พุทธศักราช 2485 และพระราชบัญญัติโรคเรื้อน พุทธศักราช 2486 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษายังคงใช้ บังคับต่อไปได้เท่าที่ ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติในพระราชบัญญัตินี้ จนกว่าจะมีกฎกระทรวง ประกาศ และคำสั่งที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
|
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวง สาธารณสุขรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ กับให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ออกกฎกระทรวง และกำหนดกิจการอื่นเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
|
|
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ |
|
หมายเหตุ
|